การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ

ผู้แต่ง

  • ณัฐวรรณธ์ แก้วจันทร์ นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สำนักวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ปานฉัตร อาการักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สำนักวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

คุณภาพกำไร, รายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของฝ่ายบริหาร, อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน

บทคัดย่อ

       งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับอัตราส่วนเงินปันผล ตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ โดยใช้ตัวแบบจำลอง The De Angelo Model (1986), The Healy Model (1985), The Jones Model (1991) และ The Modified Jones Model (1995) ซึ่งเป็นการวัดรายการคงค้างที่อยู่ในดุลยพินิจของฝ่ายบริหารเป็นตัวแทนของการวัดคุณภาพกำไร ทั้งนี้ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 460 ตัวอย่าง โดยใช้ช่วงเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2558 ถึง ปี พ.ศ.2562 เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานทางการเงินและฐานข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ออนไลน์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ

       ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพกำไรตามตัวแบบจำลอง The Jones Model (1991) และ The Modified Jones Model (1995) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 หมายถึง กิจการที่มีคุณภาพกำไรสูงจะมีรายการคงค้างที่อยู่ในดุลยพินิจของฝ่ายบริหารต่ำซึ่งส่งผลให้มีอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนที่สูง แสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจของฝ่ายบริหารถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้กับกิจการและยังเป็นข้อบ่งชี้ถึงคุณภาพกำไรเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีความมั่นใจในคุณภาพกำไรมากยิ่งขึ้น

References

กนกพร ห้าวเจริญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ชาลินี แสงสร้อย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐกานต์ วัชรชัยทโสสถ. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างรายการคงค้างในดุลยพินิจของผู้บริหารกับการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2557). นโยบายการจ่ายเงินปันผลและผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 10(19), 24-34.

ธารี หิรัญรัศมี และคณะ. (2558). การบัญชีการเงิน Financial Accounting. กรุงเทพฯ: จูน พับลิสซิ่ง.

นลินี เวชวิริยกุล. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้า.

นวชล คุณากรมงคล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรกับการจ่ายเงินปันผลบริการ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิกข์นิภา บุญช่วย.(2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายเงินปันผลของกลุ่มหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มหลักทรัพย์พลังงานและสาธารณูปโภค. Veridian E-Journal, 11(2), 1870-1879.

นิตยา หมันการ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์หลักฐานเชิงประจักษ์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังวิกฤติการณ์ทางการเงินในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2540. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์, สงขลา.

ปาลิตา นิ่มมณี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษาบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของประเทศ (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยะพร สารสุวรรณ. (2562). อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พุทธิสุทธ์ ตรีรัตน์ดิลกกุล. (2562). โครงสร้างเงินทุน นโยบายการจ่ายเงินปันผลและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 70-91.

ลลิตยา ศิริพงษ์. (2562). คุณภาพกำไรและเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธาณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(3), 48-66.

Callao, S., Jarne, J.I., Wroblewski, D. (2017). Detecting Earnings Management Investigation on Different Models Measuring Earnings Management for Emerging Eastern European Countries. International Journal of Research, 5(11), 222-259.

De Angelo, H., DeAngelo, L., & Stulz, R. (2006). Dividend Policy and earned/contributed capital mix: a test of the life cycle theory. Journal of Financial Economics, 81, 227-254.

Dechow, P.M., & Scharand, C.M. (2004). Earning Quality. United States of America: The Research Foundation of CFA Institute.

Dechow, P.M., Salon, R.G. & Sweeney, A.P. (1995). Detecting Earnings Management. The Accounting Review, 70(2), 103-225.

Healy, P.M. (1985). The Effect of Bonus Schemes on Accounting Decisions. Journal of Accounting and Economic, 7(1-3), 85-107.

Hoogrndorn, D. (2001). Joint audits, for higher quality financial statement. (Master’s Thesis). Erasmus University in Rotterdam, Netherlands.

Jones, J. (1991). Earning Management During Import Relief Investigations. Journal of Accounting Research, 29(2), 193-228.

Sirait, F. & Siregar. V.S. (2014). Dividend payable and earnings quality: evidence from Indonesia. International Journal of Accounting and Information Management, 22(2), 103-117.

Thanatawee, V. (2011). Life-Cycle Theory and Free Cash Flow Hypothesis: Evidence from Dividend Policy in Thailand. International Journal of Financial Research, 2(2), 52-60

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24