ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการออกกำลังกายของผู้ใช้บริการ ในสถานออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • รุ่งฟ้า เทียมกลาง อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นวลตอง อนุตตรังกูร อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ความต้องการออกกำลังกาย, ผู้ใช้บริการในสถานออกกำลังกาย, มหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการออกกำลังกายของผู้ใช้บริการในสถานออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ที่ใช้บริการในสถานออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยคริสเตียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยศิลปากร (พระราชวังสนามจันทร์) จำนวน 281 คน ซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยสถิติ ANOVA

        ผลการวิจัยพบว่า เพศชายและเพศหญิง มีความต้องการความปลอดภัย ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง และการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความต้องการทางด้านร่างกาย ไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในสถานออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม พบว่าความต้องการทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ยกเว้นด้านความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ไม่แตกต่างกัน

        จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดทิศทางและมุ่งเน้นในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ตรงกับความต้องการออกกำลังกายของผู้ใช้บริการ และยังคงทำให้ผู้ใช้บริการมีความต้องการที่จะใช้บริการต่อไป

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จิรวุฒิ หลอมประโคน และนรเศรษฐ กมลสุทธิ.(2552). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการสมัครสมาชิกฟิตเนสเซ็นเตอร์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

เนตรนภา เดชหัสดิน. (2553). บุคลิกภาพ ความต้องการตามแนวคิดของ Maslow บรรยากาศองค์การกับพฤติกรรมการให้บริการของพยาบาลประจําการโรงพยาบาลศิริราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคําแหง, กรุงเทพฯ.

เทอดธรรม ชาวไร่ และ ธวัชชัย สุกใส. (2560). การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนักเพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนและโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกาย.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 23(3), 511-520.

ธารารัตน์ แสงดาว. (2555). แรงจูงใจที่มีต่อการออกกำลังกายของสมาชิกที่มาใช้สถานบริการ คลาคแฮทช์ ฟิตเนต เซ็นเตอร์ในเขตจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2553. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นครนายก.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2559). บทเรียนวิชาจิตวิทยาการบริการ. ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุจิพจน์ อินทร์สุวรรณ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์ออกกำลังกาย อนันต์ไลน์ ฟิตเนส ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นครนายก

ลลิลภรณ์ ปัทมดิลก. (2553). กลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธการตลาดของธุรกิจออกกำลังกาย กรณีศึกษา บริษัท ABC Fitness Center.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

วรท แสงสว่างวัฒนะ.(2558). รูปแบบการดำเนินชีวิตและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานที่ออกกำลังกายของกลุ่มผู้บริโภคที่เคยใช้บริการสถานทีออกกำลังกาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์วิจัยกสิกร. (2552). ฟิตเนสเซ็นเตอร์ ปี’52. สืบค้นจาก http://www.kasikornresearch.com

ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK).(2564). ผลการสำรวจโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักกองทุนสนุบสนุนการสร้างสุขภาพ. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

อุษา อัศวอารักษ์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกาย จีเอ็มเอ็มฟิตเนส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นครนายก.

Flegal, K. M., Graubard, B. I., Williamson, D. F., and Gail, M. H. (2007). Cause-specific excess deaths associated with underweight, overweight, and obesity. Journal of the American Medical Association, 298(17), 2028-2037.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2011). Health promotion in nursing practice. New Jersey: Pearson/ Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29