ผลของการสนทนาสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติ ทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • ฐาปานีย์ สิงห์บวรนันท์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วีระพร ศุทธากรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสนทนาสร้างแรงจูงใจ, พฤติกรรมการป้องกัน, กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน, พนักงานคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนทนาสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 66 คน ได้รับการสุ่มเลือกแบบง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจจำนวน 4 ครั้ง ในช่วง 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับเฉพาะคู่มือความรู้ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย คู่มือความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาการผิดปกติในระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์ และแผนการสนทนาสร้างแรงจูงใจ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินท่าทางการทำงาน ROSA (Rasa-Rapid Office Strain Assessment) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย และแบบบันทึกการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา และสถิติ Paired t- test และ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมิน ROSA ค่าเฉลี่ยคะแนนความอ่อนตัว และค่าเฉลี่ยคะแนนแรงบีบมือ ดีกว่าก่อนสนทนาสร้างแรงจูงใจ และดีกว่ากลุ่มควบคุม (ยกเว้นค่าแรงบีบมือ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สรุปการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การสนทนาสร้างแรงจูงใจเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ ในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในพนักงานคอมพิวเตอร์ จึงควรนำกิจกรรมนี้ไปใช้กับกลุ่มพนักงานคอมพิวเตอร์ที่อื่นต่อไป

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573. กรุงเทพฯ: เอ็นซี คอนเซ็ปต์.

จุฑาทิพย์ วิญญูเจริญกุล และ กลางเดือน โพชนา. (2558). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี Rapid Office Strain Assessment (ROSA). วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(2), 148–158.

ฐิติชญา ฉลาดล้น และ พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม. (2556). การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานศูนย์บริการข้อมูล. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข, 23(1), 44-59.

เทอดศักดิ์ เดชคง. (บรรณาธิการ). (2560). สนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำรับผู้ป่วย NCDs. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสซิ่ง.

ประวิตร เจนวรรธนะกุล. (2559). ออฟฟิศซินโดรมโรคประจำยุคไอที. สืบค้นจาก https://www.chula.ac.th/cuinside/5383/

พาวิณี ใจบาน, วีระพร ศุทธากรณ์, และ ธานี แก้วธรรมนูญ. (2555). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และกลุ่มอาการผิดปกติโครงร่างกล้ามเนื้อของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาลที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

รัชนี อุทัยพันธ์. (2555). ผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมแรงจูงใจแบบกลุ่มต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

รัตนา มูลคำ, วีระพร ศุทธากรณ์, และ นงค์คราญ วิเศษกุล. (2556). ผลของการออกกำลังกายแบบโยคะต่ออาการปวดคอและไหล่ในพนักงานสำนักงานที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วันเฉลิม ฉัตรทอง. (2554). การปรับเปลี่ยนท่านั่งและสภาพการปฏิบัติงานเพื่องดอาการปวดเมื่อยของพนักงานที่ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

อมร โฆษิดาพันธุ์, อริสา สำรอง, และ สุทธิ์ศรีบูรพา. (2559). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และอาการปวดที่ส่งผลต่อความบกพร่องของรยางค์แขนของพนักงานสำนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

อรัญญา นัยเนตร์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการปวดคอบ่าไหล่ในบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. วารสารเจริญกรุงประชารักษ์, 16(2), 61-74.

อาณัติ มาตระกูล. (2560). ประสิทธิผลในการใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดเตียง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์, สงขลา.

Biswas A, Oh PI, Faulkner GE, Bajaj RR, Silver MA, Mitchell MS, et al. (2015). Sedentary time and its association with risk for disease incidence, mortality, and hospitalization in adults: a systematic review and meta-analysis. Annals of Internal Medicine, 162, 123–132.

Chau JY, Grunseit AC, Chey T, Stamatakis E, Brown WJ, Matthews CE, et al. (2013). Daily sitting time and all-cause mortality: a meta-analysis. PLoS One, 8, e80000.

Chen, X., Lu, Y., & Zhang, J. (2014). Intervention study of finger-movement exercises and finger weight-lift training for improvement of handgrip strength among the very elderly. International Journal of Nursing Sciences, 1(2), 165-170. doi.org/10.1016/j.ijnss.2014. 05.001.

Ekelund U, Steene-Johannessen J, Brown WJ, Fagerland MW, Owen N, Powell KE, et al. (2016). Does physical activity attenuate, or even eliminate, the detrimental association of sitting time with mortality? A harmonised metaanalysis of data from more than 1 million men and women. Lancet, 388, 1302–1310.

Mahmud, N., Kenny, D. T., Zein, R. M., & Hassan, S. N. (2015). The effects of office ergonomic training on musculoskeletal complaints, sickness absence, and psychological well-being: A Cluster randomized control trial. Asia-Pacific Journal of Public Health, 27(2), 1652-1668.

Miller, W.R., & Rollnick, S. (2002). Motivational interviewing: Preparing people for change (2nd ed.). New York: Guilford Press.

Navidian, A., Rostami, Z., & Rozbehani, N. (2015). Effect of motivational group interviewing-based safety education on Workers’ safety behaviors in glass manufacturing. BMC Public Health, 15(1), 929. doi.org/10.1186/s12889-015-2246-8

Shariat, A., Cleland, J. A., Danaee, M., Kargarfard, M., Sangelaji, B., & Tamrin, S. B. M. (2018). Effects of stretching exercise training and ergonomic modifications on musculoskeletal discomforts of office workers: A randomized controlled trial. Brazilian Journal of Physical Therapy, 22(2), 144–153. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.bjpt.2017.09.003

Zaralieva, A., Georgiev, G. P., Karabinov, V., Iliev, A., & Aleksiev, A. (2020). Physical therapy and rehabilitation approaches in patients with carpal tunnel syndrome. Cureus, 12(3), e7171. Doi: 10.7759/cureus.7171

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24