ประสิทธิผลของการใช้หมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์-อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต (CPP-ACP) และสารไซลิทอลในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กวัยเรียน

ผู้แต่ง

  • มารุต ภู่พะเนียด อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก
  • จันทภา จวนกระจ่าง อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

เคซีนฟอสโฟเปปไทด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต, ไซลิทอล, หมากฝรั่ง, โรคฟันผุ, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาสามกลุ่มวัดหลายครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้หมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์-อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต (CPP-ACP) และสารไซลิทอลในการป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์และโรคฟันผุในเด็กวัยเรียน จำนวน 90 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ใช้หมากฝรั่งผสม CPP-ACP กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้หมากฝรั่งผสมสารไซลิทอล และกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับหมากฝรั่งเคี้ยววันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด นาน 10 นาที เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ทำการประเมินคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน 5 ครั้ง คือ ก่อนทดลอง สัปดาห์ที่ 4 - 8 - 12 และ 16 และประเมินฟันผุ 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังการทดลอง ความเที่ยงของการตรวจคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันและฟันผุ มีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา 0.82 - 0.88  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบฟรีดแมน สถิติทดสอบวิลค็อกซัน สถิติทดสอบครัสคาลและวัลลิส และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่า ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4-16 กลุ่มทดลองที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\chi&space;^{2}= 75.835, P-value < 0.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์ 5 ครั้ง เท่ากับ 1.10, 0.83, 0.40, 0.16 และ 0.13 ตามลำดับ เช่นเดียวกับกลุ่มทดลองที่ 2 (gif.latex?\chi&space;^{2}= 66.905, P-value < 0.001) โดยมีค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์ 5 ครั้ง เท่ากับ 1.00, 0.93, 0.51, 0.16 และ 0.14 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1  และ กลุ่มทดลองที่ 2 มีคราบจุลินทรีย์น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ในสัปดาห์ที่ 4-16 จำนวนด้านฟันผุก่อนและหลังทดลอง กลุ่มทดลองที่ 1 (Z= -1.000, P-value = 0.500) และกลุ่มทดลองที่ 2 (Z= -1.414, P-value = 0.250) ไม่มีจำนวนด้านฟันผุเพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีจำนวนด้านฟันผุน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\chi&space;^{2}= 7.164, P-value = 0.030) ผู้วิจัยแนะนำว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งผสมสาร CPP-ACP หรือสารไซลิทอล ครั้งละ 1 เม็ด เป็นเวลา 10 นาที สามารถลดคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก. สืบค้นจาก http://hdcservice.moph.go.th

ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. (2554). ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เบสท์ บุ๊ค.

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ (Caries risk assessment) สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี. สืบค้นจาก https://www.thaidental.or.th/main/download/upload/upload-20190213213415.pdf

มารุต ภู่พะเนียด, จันทภา จวนกระจ่าง, ธีรนุช การป๊อก และ สิรามล นิลกำเนิด. (2563). ประสิทธิผลของหมากฝรั่งผสมสารเคซีนฟอสโฟเปปไทด์อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟตต่อการป้องกันฟันผุในเด็กวัยเรียน, ใน พัชรศักดิ์ อาลัย (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 12 (น. 1186-1194). นครปฐม. ประเทศไทย

สำนักทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์.

Ainamo, J. & Bay, I. (1975). Problems and proposals for recording gingivitis and plaque. International Dental Journal, 25(4), 22-35.

Hegde, R. J. & Thakkar, J. B. (2017). Comparative evaluation of the effects of casein phosphopeptide-amorphous calcium phosphate (CPP-ACP) and xylitol-containing chewing gum on salivary flow rate, pH and buffering capacity in children: An in vivo study. Journal of Indian Society of Pedodontics and Preventive Dentistry, 35(4), 332-337.

Kargul, B., Durmus, B., & Bekiroglu, N. (2017). Effect of CPP-ACP on remineralization of early caries lesions in primary teeth. OHDM, 16(3), 1-4.

Kaur, K., Nekkanti, S., Madiyal, M. & Choudhary, P. (2018). Effect of chewing gums containing probiotics and xylitol on oral health in children. Journal of International Oral Healt, 10(5), 237-243.

Mendes, A. C., Restrepo, M., Bussaneli, D. & Zuanon, A. C. (2018). Use of casein amorphous calcium phosphate (CPP-ACP) on white-spot lesions: Randomised clinical trial. Oral Health Prev Dent, 16(1), 27-31.

Miake, Y., Saeki, Y., Takahashi, M. & Yanagisawa, T. (2003). Remineralization effect of xylitol on demineralized enamel. Journal of Electron Microscopy, 52(5), 471-476.

Munjal, D., Garg, S., Dhindsa, A., Sidhu, G. K., & Sethi, H. S. (2016). Assessment of white spot lesions and In-Vivo evaluation of the effect of CPP-ACP on white spot Lesions in permanent molars of children. Journal of Clinical and Diagnostic Research for doctors, 10(5), 149-154.

Muralikrishnan, K., Asokan, S. & Priya, P. R. (2018). Effect of different chewing gums on dental plaque pH, salivary pH, and buffering capacity in children: A randomized controlled trial. SRM Journal of Research in Dental Sciences, 9, 158-163.

Niederman, R. & Sullivans, M.T. (1981). Oral Hygiene Skill Achievement Index. Journal of Periodontology, 3(52), 143-156.

Oza, S., Patel, K., Bhosale, S., Mitra, R., Gupta, R. & Choudhary, D. (2018). To determine the effect of chewing gum containing xylitol and sorbitol on mutants streptococci and lactobacilli count in saliva, plaque, and gingival health and to compare the efficacy of chewing gums. Journal of International Society of Preventive and Community Dentistry, 8(4), 354-360.

Poureslami, H., Hoseinifar, Ra., Khazaeli, P., Hoseinifar, Re., Sharifi, H. & Poureslami, P. (2017). Changes in the concentration of Ions in saliva and dental plaque after application of CPP-ACP with and without Fluoride among 6-9 year old children. Journal of Dental Biomaterial, 4(1), 361-366.

Reynolds, E. C., Cai, F., Shen, P. & Walker, G. D. (2003). Retention in plaque and remineralization of enamel lesions by various forms of calcium in a mouth rinse or sugar-free chewing gum. Journal of Dental Research, 82(3), 206-211.

Samuel, V., Ramakrishnan, M., Halawany, H. S., Abraham, N. B., Jacob, V. & Anil, S. (2017). Comparative Evaluation of the Efficacy of Tricalcium Phosphate, Calcium Sodium Phosphosilicate, and Casein Phosphopeptide – Amorphous Calcium Phosphate in Reducing Streptococcus mutants in Saliva. Nigerian Journal of Clinical Practice, 20(11), 1404-1410.

Thakkar, P. J., Badakar, C.M., Hugar, S. M., Hallikerimath, S., Patel, P. M. & Shah, P. (2017). An in vitro comparison of casein phosphopeptide-amorphous calcium phosphate paste, casein phosphopeptide-amorphous calcium phosphate paste with fluoride and casein phosphopeptide-amorphous calcium phosphate varnish on the inhibition of demineralization and promotion of remineralization of enamel. Journal of Indian Society of Pedodontics and Preventive Dentistry, 35(4), 312-318.

World Health Organization. (2013). Oral health surveys: basic methods. (5th ed.). Geneva: World Health Organization

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24