ผลของการออกกำลังกายฤๅษีดัดตนต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ความเครียด และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ
คำสำคัญ:
ฤๅษีดัดตน, อัตราการเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การที่ผู้สูงอายุไม่ออกกำลังกายเป็นประจำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดความเครียด คุณภาพชีวิต และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ การลดความเครียด และเพิ่มคุณภาพชีวิตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตนต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ความเครียด และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 คน อายุระหว่าง 60-75 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับการออกกำลังกายฤๅษีดัดตน ครั้งละ 60 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการออกกำลังกาย ใช้สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันโลหิต แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการเต้นของหัวใจ และความเครียดลดลง ส่วนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลความเครียด และคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าการบริหารร่างกายฤๅษีดัดตน ช่วยลดความเครียด อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตซิสโตลิกให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำดีขึ้น
References
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารสุข. (2556). ฤๅษีดัดตน ขยับกายสบายชีวี ด้วยการบริหารแบบไทยฤๅษีดัดตน 15 ท่า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โพสต์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กิตติพันธุ์ อรุณพลังสันติ และนงนุช พลบูรณ์. (2554). ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ ระหว่างการออกกำลังกายแบบชี่กงและการออกกำลังกายแบบท่าฤๅษีดัดตน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 17(1), 116- 125.
กัตติกา ธนะขว้าง และจันตนา รัตนวิฑูรย์. (2556). ผลของการรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่านต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. พยาบาลสาร, 40(2), 148-161.
ปริยาภัทร สิงห์ทอง, ภักศจีภรณ์ ขันทอง, กัญญ์ณณัฐ เทพสุริยานนท์, และอรชร ดวงแก้ว. (2563). ผลของการออกกำลังกายฤๅษีดัดตนต่อการบรรเทาความรุนแรงของภาวะข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้นในผู้หญิงวัยกลางคน. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(1), 60-70.
ภักศจีภรณ์ ขันทอง, สุภารัตน์ สุขโท, ศุภรัตน์ พันธ์พรหม, ขวัญฤทัย แทนหอม, และวิศิษฐ์ชัย ระหาร. (2561). ผลทันทีของการฝึกฤๅษีดัดตนต่อความยืดหยุ่นของหลังในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 108-114.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2559. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.
วารี วิดจายา, ธนารักษ์ วงษ์วัฒนพงษ์, และอมรพันธ์ อัจจิมาพร. (2562). ผลของการฝึกฤๅษีดัดตนประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายในหญิงสูงวัยที่มีภาวะอ้วน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 26(3), 84-101.
วราภรณ์ แย้มมีศรี และปราณี จันธิมา. (2561). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบรำวงย้อนยุคต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(2), 58-68.
วีระพงษ์ ชิดนอก. (2552). การบริหารกายด้วยฤๅษีดัดตน. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 21(3), 189-197.
วัลลภา ลีลานันทกุล, นารีวรรณ สมาน, ศตพร อิสาสะวิน, ศิริพร อบสุนทร, และสุวรรณา แม่นปืน. (2562). ผลของการบริหารร่างกายฤๅษีดัดตน (ท่าแก้โรคในอก) ต่อความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจสมรรถภาพหัวใจและปอดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19(2), 334-347.
วัลลภา ลีลานันทกุล เนตรชนก ชิณเกตุ ประดิษฐา ดวงเดช สุธามาศ บุตรัตน์ และสุวรรณา แม่ปืน. (2561). ผลของการบริหารร่างกายฤๅษีดัดตนท่าแก้โรคในอกต่อการขยายตัวของทรวงอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและสมรรถภาพของปอดในผู้ที่มีสุขภาพดีช่วงอายุ 50-90 ปี. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 16(2), 229-247.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2556). รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
หทัยชนก หมากผิน, วรรณนิศา ธนัคฆเศรณี, ทิพย์สุดา บานแย้ม, สัตพร เจริญสุข, และทิพย์สิตา แก้วหนเสม็ด. (2563). ผลของการออกกาลังกายแบบฟ้อนไทยทรงดาประยุกต์ต่อคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(1), 28-41.
อมรรัตน์ นธะสนธิ์, ภักศจีภรณ์ ขันทอง, และอนัญญา เดชะคำภู. ผลการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อภาวะโภชนาการและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 26(1), 90-106.
อรวรรณ บุราณรักษ์ และวิชัย อึงพินิจพงศ์. (2556). ผลของการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตน แบบชี่กง และแบบผสมผสานต่อความเครียด และคุณภาพชีวิต ในผู้หญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 25(3), 280-288.
Aekplakorn W, Stolk RP, Neal B, Suriyawongpaisal P, Chongsuvivatwong V, Cheepudomwit S, et al. (2003). The prevalence and management of diabetes in Thai adults: theinternational collaborative study of cardiovascular disease in Asia. Diabetes Care, 26(10), 2758–2763.
Buttagat V, Eungpinichpong W, Chatchawan U, Kharmwan S. (2011). The immediate effectsof traditional Thai massage on heart rate variability and stress-related parameters in patients with back pain associated with myofascial trigger points. Journal of Bodywork & Movement Therapies, 15(1), 15-23.
Di Luigi L, Sgrò P, Baldari C, Gallotta MC, Emerenziani GP, Crescioli C, et al. (2012). The phosphodiesterases type 5 inhibitor tadalafil reduces the activation of the hypothalamus-pituitary-adrenal axis in men during cycle ergometric exercise. American Journal of Physiology - Endocrinology and Metabolism Am J Physiol Endocrinol Metab, 302(8), E972–E978.
Faul F, Erdfelder E, Buchner A, and Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160.
Feher J. (2017). Quantitative Human Physiology. (2nd edition). New York, NY: Academic Press.
Fu Q and Levine BD. (2013). Exercise and the autonomic nervous system. Handb Clin Neurol, 117, 147-160.
Galloza J, Castillo B, Micheo W. (2017). Benefits of Exercise in the Older Population. PhysMed Rehabil Clin N Am, 28(4), 659-669.
Hishikawa N, Takahashi Y, Fukui Y, Tokuchi R, Furusawa J, Takemoto M, Sato K, Yamashita T, Ohta Y, Abe K. (2019). Yoga-plus exercise mix promotes cognitive, affective, and physical functions in elderly people. Neurol Res, 41(11), 1001-1007.
Mcleod S. (2019). What does effect size tell you?. Retrieved from https://www.simplypsychology.org/effect-size.html
Takizawa C, Gemmell E, Kenworthy J, Speyer R. (2016). A Systematic Review of the Prevalence of Oropharyngeal Dysphagia in Stroke, Parkinson's Disease, Alzheimer's Disease, Head Injury, and Pneumonia. Dysphagia, 31(3), 434-441.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.