การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้การปรึกษา ผู้ป่วยระยะสุดท้ายสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • รังรอง งามศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • จริยาภรณ์ สกุลพราหมณ์ อาจารย์ประจำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • ดร.กรรณิการ์ พันทอง อาจารย์ประจำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ความสามารถในการให้การปรึกษา, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้การปรึกษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดกาญจนบุรี และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดกิจกรรม ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 5 คน และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบวัดความสามารถในการให้การปรึกษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ผลการวิจัยสรุปว่า ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้การปรึกษามี 6 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ผ่อนพักตระหนักรู้ 2) รับประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) สะท้อนคิดใคร่ครวญ และ 4) สรุปทบทวน และเติมเต็มประสบการณ์การเรียนรู้  ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม พบว่า ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพในระดับมาก และประสิทธิผลของชุดกิจกรรม พบว่า ชุดกิจกรรมมีประสิทธิผลเป็นไปตามเกณฑ์ จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ชุดกิจกรรมเพื่อนำไปพัฒนาความสามารถในการให้การปรึกษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชม

References

ชัชฎาภรณ์ จิตตา. (2562). แบบรายงานการตรวจราชการระดับเขตสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 5. สืบค้นจาก https://hpc.go.th/inspect/web/fileupload/20191025113350ACQKOV37CC5L.pdf

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเทอร์คอเปอร์เรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.

ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจาปี 2551 เรื่องจิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.

ปราณี อ่อนศรี. (2557). จิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 7-11.

พรภัทรา แสนเหลา. (2560). บทบาทการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและพระสงฆ์ร่วมกับพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่ ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(4), 151-156.

พระไพศาล วิสาโล. (2557). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิถีพุทธ ปาฐกถาเกียรติยศ สุมาลี นิมมานนิตย์. กรุงเทพฯ: ปริ๊นท์โอโซน จำกัด.

มารุต พัฒผล. (2564). เอกสารประกอบการเรียนรู้ รายวิชา สัมมนานวัตกรรมการโค้ชเพื่อการรู้คิด. สืบค้นจาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Coaching/สมองกับการรู้คิด_154292263.pdf

วริสรา ลุวีระ, เดือนเพ็ญ ศรีขา และศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2556). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชนโดยอาสาสมัคร : การรับรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(2), 199-204.

สลักจิต ตรีรณโอภาส. (2564). จิตตปัญญาศึกษากับการจัดการเรียนรู้. สืบค้นจาก http://edu.psru.ac.th/2011/pdf/Jitta.pdf

สุนิดา ชูแสง. (2562). กระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริการด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์สำหรับนักศึกษาพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สุวิริยา สุวรรณโคตร. (2555). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในมิติจิตวิญญาณและคุณค่าความเป็นมนุษย์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2559). การวิจัยพัฒนาโมเดลเลิฟเพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ : ชุดโครงการวิจัยสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้า.

Klausmeier H. J. (1985). Educational psychology. (5thed). New York : Harper & Row.

Phillips JL, Davidson PM, Newton PJ, DiGiacomo M. (2008). Supporting patients and their caregivers after-hours at the end of life : The role of telephone support. J Pain Symptom Manage, 36(1), 11- 21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19