รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารผลงาน การบริหารงานคุณภาพ และองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้แต่ง

  • ชิษณุพงศ์ ทองพวง อาจารย์ประจำ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ไพศาล จันทรังษี จันทรังษี อาจารย์ประจำ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ปภากร สุวรรณธาดา อาจารย์ประจำ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ อาจารย์ประจำ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ภราดี พิริยะพงษ์รัตน์ อาจารย์ประจำ สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การบริหารผลงาน, การบริหารงานคุณภาพ, องค์การแห่งความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารผลงาน การบริหาร งานคุณภาพ และองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยคริสเตียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหาร อาจารย์ และพนักงานของมหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารผลงาน การบริหารงานคุณภาพ และองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยคริสเตียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.975, 0.969 และ 0.958 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ที่บูรณาการเทคนิคการวิเคราะห์ด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)

          ผลการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ พบว่า การบริหารผลงานมีอิทธิพลโดยตรงต่อองค์การแห่งความเป็นเลิศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ .79 การบริหารงานคุณภาพมีอิทธิพลโดยตรงต่อองค์การแห่งความเป็นเลิศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ .59 การบริหารงานคุณภาพมีอิทธิพลโดยตรงต่อองค์การแห่งความเป็นเลิศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ .64 การบริหารผลงานมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อองค์การแห่งความเป็นเลิศโดยผ่านการบริหารงานคุณภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 1.02 ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงควรกำหนดแผนกลยุทธ์ในการนำการบริหารผลงานแบบ OKRs มาใช้ในการบริหารผลงานของบุคลากรสถาบัน เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด.

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). คู่มือการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/bhes/QAMUA58/qa%20manual58/manual58.htm/

ชาญชัย พานทองวิริยะกุล. (2562). การบริหารและทำงานแบบมุ่งเน้นเป้าหมายด้วย OKRs (Objective Key Results). สืบค้นจาก https://qm.kku.ac.th/eqdd.mcontent_dsp.php?cid=846/

ดัวร์, จอห์น. (2562). ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKRs (ดไนยา ตั้งอุทัยสุข, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที 7). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พฤหัส ต่ออุดม. (2563). การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่ความสำเร็จด้วย OKRs. สืบค้นจาก http://www.ftqm.or.th/images/document/symposium/2020-21/BP38-Fullpaper.pdf/

มหาวิทยาลัยคริสเตียน. (2560). ประวัติความเป็นมา และการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. สืบค้นจาก https://www.christian.ac.th/about.php

ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์ และคณะ. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาตามแนว OBJECTIVES & KEY RESULTS (OKRs). วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(3), 258-272.

สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. (2555). บริหารโรงพยาบาลสู่ความเป็นเลิศด้วย TQA.กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สุขพงศ์ สุขพิพัฒน์. (2558). การบริหารมหาวิทยาลัยรังสิตให้เป็นองค์การสมรรถนะสูง, (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2563-2566. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2563). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2563 – 2564. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). OKRs กับการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จํากัด.

Adler, Nancy J. (1997). International Dimensions of Organizational Behavior. (2nd ed.). Boston: PWS-Kent Publishing Co.

Adair, J. (2010), "How to Grow Leaders: The Seven Key Principles of Effective Leadership Development", Human Resource Management International Digest, 18(5), 25-26.

Hitt, M.A., Ireman, R.D., & Hoskisson, R.E. (2014). Strategic Management Concept. (7th ed). OH, USA: Thomson Higher Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-03