ความเต็มใจที่จะจ่ายเงินค่าบริการทำบัญชีให้กับสำนักงานบัญชี ของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • นันทชัย สาสดีอ่อง อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  • ณัทกิจพัฒน์ หอมวิจิตรกุล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ค่าใช้บริการทำบัญชี, สำนักงานบัญชี, ความเต็มใจจ่าย

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายเงินค่าใช้บริการทำบัญชีให้กับสำนักงานบัญชีของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 458,677 ราย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้น จำนวน 420 ราย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามภายใต้สถานการณ์ที่กำหนด ณ ราคาที่กำหนดและในเหตุการณ์สมมุติต่อความเต็มใจที่จะจ่ายเงินค่าบริการทำบัญชี เก็บข้อมูลผ่านทางระบบออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบจำลอง Double Bounded Logit Model

        ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการเจ้าของคนเดียวมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทำบัญชีในราคาเริ่มต้น 1,812.79 บาทต่อเดือน ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทำบัญชีในราคาเริ่มต้น 2,700.10 บาทต่อเดือน และบริษัทจำกัดมีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทำบัญชีในราคาเริ่มต้น 4,498.88 บาทต่อเดือน ในส่วนประเภททุนจดทะเบียน ผู้ประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 5 ล้านบาท มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทำบัญชีในราคาเริ่มต้น 1,264.98 บาทต่อเดือน ผู้ประกอบการที่มีทุนจดทะเบียน 5-10 ล้านบาท มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทำบัญชีในราคาเริ่มต้น 3,104.44 บาทต่อเดือน และผู้ประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 10 ล้านบาท มีความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการทำบัญชีในราคาเริ่มต้น 5,125.12 บาทต่อเดือน  งานวิจัยครั้งนี้สำนักงานบัญชีสามารถนำไปกำหนดนโยบายด้านราคาและกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มได้อย่างถูกต้อง

References

Blumel E, Easly, D. (2008). The New Palgrave Dictionary of Economics, Second Edition. Palgrave, Macmillan. Retrieved from http://www.dictionaryofeconomics.com/article.

Brien. O. B, and Viramontes. J. L, (1994). Willingness to Pay: A Valid and Reliable Measure of Health State Preference? Medical Decision Making, 14, 289–297.

Han, S., Gupta, S, & Lehmann, D. R. (2001). Consumer price sensitivity and price thresholds. Journal of Retailing, 77 (4), 435–456. https://doi.org/10.1016/S0022-4359(01)00057-4

Hardie, B.G.S; Eric J. Johnson, and Fader, P.S. (1993). Modeling Loss Aversion and Reference Dependence Effects on Brand Choice. Marketing Science, 12(4), 378-394. Retrieved from https://www.jstor.org/stable/183936.

Henderson. J. V .and Poole. W, (1991). Principles of economics D.C. Toronto: Heath and Company

Jerop, R. (2012). Consumer willingness to pay for dairy goat milk in Siaya County, Kenya. (Master’s of Thesis), Egerton University in Njoro, Kenya.

Kohli.R and Mahajan.V, (1991). A Reservation-Price Model for Optimal Pricing of Multiattribute Products in Conjoint Analysis. Journal of Marketing Research, 28(3), 347-354. DOI: 10.2307/3172870

Liao.C, Önal. H and Chen. M.-H. (2009). Average shadow price and equilibrium price: A case study of tradable pollution permit markets. European Journal of Operational Research, 196, 1207–1213.

Lusk. J.L. and Hudson. D. (2004). Hudson, Willingness-to-Pay Estimates and Their Relevance to Agribusiness Decision Making. Applied Economic Perspectives and Policy 26(2), 152–169.

Owusu, M.A. (2009). The assessment of market potential and marketing prospects of organic fruits and vegetables in Kumasi metropolis of Ghana. (Master’s of Thesis), Kwame Nkrumah University of Science and Technology, Kumasi, Ghana.

Sen, A. (2008). The discipline of economics. Economic, 75(300), 617–628.

Wangenheim, Florian v. and Bayón, T. (2007). The chain from customer satisfaction via word-of-mouth referrals to new customer acquisition. Journal of the Academy of Marketing Science, 35(2), 233-249. DOI 10.1007/s11747-007-0037-1.

Wertenbroch. K, and Skiera. B, (2002). Measuring Consumers' Willingness to Pay at the Point of Purchase. Journal of Marketing Research, 39(2), 228–241.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29