ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษากิจกรรมบำบัด
คำสำคัญ:
การเรียนรู้, ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, นักศึกษากิจกรรมบำบัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา และศึกษาปัจจัยสนับสนุนและขัดขวางต่อการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของนักศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการใช้แบบสอบถามกับนักศึกษากิจกรรมบำบัด จำนวน 64 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการใช้ทักษะการเรียนรู้แปลผลตามเกณฑ์ ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูล ด้วยการสนทนากลุ่มกับนักศึกษาอาสาสมัคร 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน รวม 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาพบว่าทักษะแห่งการเรียนรู้ที่นักศึกษาได้ใช้ในระดับมากที่สุด คือ ทักษะด้านการทำงานร่วมกัน (collaboration) ส่วนทักษะการคิดสร้างสรรค์ (creativity) ทักษะการคิดเชิงวิพากย์ (critical thinking) ทักษะการสื่อสาร (communication) ตลอดจนทักษะการจัดการสารสนเทศสื่อและ ICT ได้ใช้ในระดับมาก ทักษะทั้งหมดถูกใช้ในการเรียนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เรียนปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 โดยได้ใช้มากในการฝึกงานทางคลินิกและการทำภาคนิพนธ์ นักศึกษาเห็นว่าทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงวิพากษ์เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับการเรียนกิจกรรมบำบัด ด้วยลักษณะของวิชาชีพและตัวนักศึกษาเองที่ต้องเป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ได้ใช้ทักษะเหล่านี้ อย่างไรก็ตามบริบทของสถานที่ฝึกงานรวมทั้งความจำกัดของอินเตอร์เน็ตอาจเป็นปัจจัยขัดขวางต่อโอกาสของการได้ใช้ทักษะเหล่านี้ งานวิจัยนี้ทำให้เห็นว่านักศึกษาได้ใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการเรียนรู้จริง ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะเหล่านี้ด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อผู้เรียนด้วย
References
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2558). อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ในศตวรรษที่21 ใน คู่มืออาจารย์ด้านการสอน. สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.
พิณนภา หมวกยอด. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(1), 150-184.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). [อัดสำเนา].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รุ่งนภา จันทรา และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 180-190.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: ส.เจริญการพิมพ์.
สิริพร ปาณาวงษ์. (2560). Active Learning เทคนิคการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจากhttp://apr.nsru.ac.th/Act_learn/myfile/10062014104828_3.pdf
อริสสา สะอาดนัก. (2557). ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรณีศึกษารายวิชาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม. สืบค้นจาก https://www.researchgate.net/publication/277143088
อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 185-199.
Bellanca, J., & Brandt, R., (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington: Solution Tree Press.
Erdem, C. (2019). Introduction to 21st Century Skills and Education. United Kingdom: Cambridge Scholars publishing.
Trilling, B. & Fadel, C. (2009). Learning and Innovation Skills. 21st Century Skills Learning for Life in Our Times. San Francisco: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.