เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อรไท ครุธเวโช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • พิมพ์ชนก อาจวิชัย นักวิจัย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • วรัญชัย แซ่ตัน นักวิจัย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ฉันทพนธ์ เลาหจรัสแสง นักวิจัย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • วรพจน์ ตรีสุข อาจารย์ประจำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ, เส้นทางการท่องเที่ยว, ความเชื่อไทย, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

       โครงการวิจัยเรื่อง เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่ 2) วิเคราะห์ศักยภาพของทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณที่เอื้อต่อการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่และ 3) พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบและเครื่องมือการวิจัย คือ ข้อมูลสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด 30 คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมโดยการลงพื้นที่ 12 สถานที่พร้อมกับถ่ายรูปจดบันทึกในขณะที่ลงพื้นที่ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) สำหรับการสัมภาษณ์ และประเมินศักยภาพสถานที่โดยใช้ SWOT Analysis และ TOWS Matrix  ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ อย่างน้อยจะต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องกับแนวคิด 3A’s  ในด้านของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่พบว่าเป็นวัดพุทธ สถานที่ที่สัมพันธ์กับศาสนาพราหมณ์ และเป็นสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยความเชื่อส่วนบุคคล ด้านการจัดการ ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ยังให้การสนับสนุนน้อยในด้านงบประมาณ ด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวพบว่า ขาดการโฆษณาสถานที่ท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และความพร้อมของสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งยังไม่ได้รับมารตฐาน SHA ซึ่งส่งผลทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องสุขอนามัย รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 สถานที่ท่องเที่ยวที่พบส่วนใหญ่ยังไม่ได้ยกระดับด้าน Digital Technology  และขาดการศึกษาและขาดข้อมูล ด้านการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณในจังหวัดเชียงใหม่  ผู้วิจัยได้เสนอแนะการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่ได้เป็น 3 เส้นทาง ดังนี้ 1) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยด้านโชคลาภ 2) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยด้านการงาน และ 3) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยด้านความรัก

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย [ททท.]. (2563). Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA). กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ [ททท.]. (2562). สถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://www.tourismchiangmai.org/th/attractions

ข่าวช่อง8. (2563). เปิดคำชะโนดวันแรก ตามแบบ “New Normal”. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=P3rsl9-zPzk

ฉันทัช วรรณถนอม. (2559). การวางแผนจัดนำเที่ยว. นนทบุรี: เฟิร์นข้าหลวงพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ชื่นนภา นิลสนธิ. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะด้านการพัฒนาการฟื้นฟูจิตวิญญาณ: ปัจจัยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชื่นนภา นิลสนธิ และสุวารี นามวงค์. (2561). ปัจจัยแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงฟื้นฟูจิตวิญญาณ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 384-403.

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2560). การท่องเที่ยวทางจิตวิญญาณ Spiritual tourism. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทพ สงวนกิตติพันธ์. (2563). ความเชื่อ. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/offices/rdec/udon/upload/socities9_10.html

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และภูสวัสดิ์ สุขเกลี้ยง. (2549). การจัดนำเที่ยวและรายการนำเที่ยวภาคเหนือตอนบน.กรุงเทพฯ: บริษัทเพรสแอนด์ดีไซน์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และปทุมพร แก้วคำ. (2558). ธุรกิจนำเที่ยว Tour Business. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: หจก.เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2562). นวัตกรรมการสื่อสารกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 200-210.

พระมหาศุภวัฒน์ ฐานวุฑฺโฒ และนพวรรณ วิเศษสินธุ์. (2562). การจัดการแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อรองรับประเทศไทย 4.0. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(1), 160-163.

วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สยามรัฐ. (2563). ล้นคำชะโนด! นทท.ต่อคิวกราบสักการะ'ปู่ศรีสุทโธ'ช่วงวันหยุดยาว. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/167779

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรัญพร สุรวิชัย และ สุวารี นามวงศ์. (2563). การพัฒนาจุดหมายปลายทาง แหล่งท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,14 (1), 145-164.

สุภา สังขวรรณ. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดสมุทรสงคราม. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 4(1), 1-9.

สิทธิพงษ์ บุญทอง. (2561). วัดเจดีย์ ไอ้ไข่: การประกอบสร้างให้กลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ภายใต้วิกฤตความทันสมัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

เสียงใต้. (2563). ส.ส.สาวนครศรีฯรุดหารือสภาของบประมาณซ่อมถนนวัดเจดีย์ไอ้ไข่ หลังนทท.แห่เที่ยวคึกคัก. สืบค้นจาก https://siangtai.com/2020/07/27

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2563). “คำชะโนด” ดินแดนแห่งศรัทธา เดินหน้าสู่แหล่งท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของจังหวัด ยอดนักท่องเที่ยวปี 2562 ทะลุ 3.3 ล้านคน. สืบค้นจาก https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG200101201755294

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวนรอบปี พ.ศ. 2565. เชียงใหม่: สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่.

อิสรา ทองทิพย์. (2563). แนวทางการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดสกลนคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 57-78.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education. (8th ed). Oxen: Routledge.

Norman, A. (2011). Spiritual Tourism: Travel and Religious Practice in Western Society. Retrieved from https://bit.ly/2HOYZKN

Oppermann, M. (1995). A Model of Travel Itineraries. Journal of Travel. Research, 33(4), 57-61.

Rao, M.S. (2019). Spiritual Tourism Tourists First, Tour Operators Second, And Destinations Third. Retrieved from https://thriveglobal.com/stories/spiritual-tourism/

Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Weihrich, H. (1982). Strategic career management - A missing link in management by objectives. Human Resource Management, 21(2), 58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24