ผลของการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกโดยใช้ฐานการเรียนรู้ ต่อการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลและความพึงพอใจ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1

ผู้แต่ง

  • จันทิมา ช่วยชุม อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยุพิน หมื่นทิพย์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถ, การเรียนโดยใช้ฐานการเรียนรู้, การฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก, ความพึงพอใจ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง เพื่อศึกษาผลของการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกโดยใช้ฐานการเรียนรู้ โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลก่อนและหลังการเตรียมความพร้อม และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตหลังการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกโดยใช้ฐานการเรียนรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช จำนวน 64 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย  ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวบข้อมูลในระยะก่อนและหลังการเตรียมความพร้อม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบแผนกิจกรรมฐานการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเตรียมความพร้อมโดยใช้ฐานการเรียนรู้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .74 และ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (Paired t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

          1. นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลหลังการเตรียม ความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกโดยใช้ฐานการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการเตรียมความพร้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          2. นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกโดยใช้ฐานการเรียนรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 อยู่ในระดับมาก (x̄=4.42, S.D.=0.18)

          ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าอาจารย์ผู้สอนควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาพยาบาลโดยใช้ฐานการเรียนรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล

References

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, และหทัยชนก บัวเจริญ. (2560). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้รอบด้านรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน: กรณีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 20(40), 41-52.

กล้าเผชิญ โชคบำรุง, ปาริชาติ วงศ์ก้อม, และจินตนา สุวิทวัส. (2564). การรับรู้สมรรถนะตนเองทางการ พยาบาลในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 44(2), 72-85.

จตุพร ขาวมาลา และวรรณทนา สมนึกประเสริฐ. (2562). ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมต่อพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 163-176.

ดวงใจ พรหมพยัคฆ์, วราภรณ์ สัตยวงศ์, จุฑามาศ รัตนอัมภา, ภาวดี เหมทานนท์, และวิไลพร รังควัต. (2562). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงร่วมกับการส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลต่อพฤติกรรมการสะท้อนคิดและความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 57-71.

ธวัชชัย วรพงศธร และสุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2), 11-21.

นิตยา สมบัติแก้ว และภาวิดา พุทธิขันธ์. (2558). การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการพยาบาล วิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 16(30), 51-62.

นุชนาถ ประกาศ, จิตติยา สมบัติบูรณ์, และสุกัญญา ขันวิเศษ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(1), 200-215.

นพนัฐ จำปาเทศ, วิญญ์ทัญญู บุญตัน, และพรศิริ พันธสี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 19(37), 1-14.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. (2560, 6 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 1 ง.

พนารัตน์ วิศวเทพนิมิต, อุบล สุทธิเนียม, และจันทร์จิรา เกียรติสี่สกุล. (2562). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวต่อความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 224-234.

พนารัตน์ วิศวเทพนิมิต, อุบล สุทธิเนียม, และเสมอจันทร์ ธีระวัฒน์สกุล. (2563). ผลของการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคต่อความพึงพอใจ ความมั่นใจในตนเองในการเรียน และการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(3), 59-69.

พูลทรัพย์ ลาภเจียม. (2562). ผลของการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานต่อความรู้และทักษะ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(2), 42-54.

มาลินี บุญเกิด, ฤทัยรัตน์ มั่งอะนะ, และสุกัญญา กระเบียด. (2558). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงต่อความมั่นใจและทักษะในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2558: Diversity in Health and Well-Being พิษณุโลก, 25-26 มิถุนายน 2558.

เยาวเรศ ประภาษานนท์, บัณฑิตา ภูอาษา, และแสงเดือน กิ่งแก้ว. (2559). การรับรู้สมรรถนะปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 23-33.

รพีพรรณ สมจิตรนึก. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองและคุณลักษณะของงานต่อความผูกพันในงานและผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา : กลุ่มธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ, และฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(2), 1-14.

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, ดวงแข พิทักษ์สิน, ปิยะนาฏ ช่างเสียง, และอังคณา หมอนทอง. (2560). ผลของการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(ฉบับพิเศษ), 46-58.

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง วิรดา อรรถเมธากุล และดวงแข พิทักษ์สิน. (2561). ผลของการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยอย่างมีแบบแผนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 147-163.

สไบทิพย์ เชื้อเอี่ยม, สุพัตรา ไตรอุดมศรี, และปรียสลิล ไชยวุฒิ. (2562). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีสะท้อนคิดต่อทักษะการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 143-152.

สภาการพยาบาล. (2564). ข้อบังคับของสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2564. (2564, 27 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 53 ง. 28-38.

สุรชาติ สิทธิปกรณ์ และคณะ. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยหุ่นจำลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในตนเองและความพึงพอใจของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การประชุมวิชาการ“มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 14” 50 ปีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ‘ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน’, 6 กันยายน 2561.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, และสุนีย์รัตน์ บุญศิลป์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ ความพึงพอใจ และความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. วารสารพยาบาลรามา, 23(1), 113-127.

Alavi, N.M. (2014). Self-efficacy in nursing students. Nursing and Midwifery Studies, 3(4), 1.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy : the exercise of control. New York : W.H. Freeman and company.

Lee, T.W. and Ko, Y.K. (2010). Effects of self-efficacy, affectivity and collective efficacy on nursing performance of hospital nurses. J Adv Nurs, 66(4), 839-848.

Winum, A. (2017). BSN students’ satisfaction and self-confidence in simulation-based learning (Undergraduate Honors Thesis). Boiling Springs, NC: Gardner-Webb University Retrieved from https://digitalcommons.gardner-webb.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1010&context=undergrad-honors.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19