การพัฒนาเครื่องมือวัดพฤติกรรมการตัดสินใจในการจัดการการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการ การดูแลระยะยาวของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการตัดสินใจ, การจัดการการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลระยะยาว, ผู้สูงอายุ, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือสำหรับประเมินพฤติกรรมการตัดสินใจในการจัดการการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะของการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ดำเนินการสัมภาษณ์ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 18 คน ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม เพื่อกำหนดพฤติกรรมการตัดสินใจ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามพฤติกรรมการตัดสินใจในการจัดการการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 312 คน โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่า CVI เท่ากับ .89 และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.90 หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการตัดสินใจในการจัดการการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 43 ข้อคำถาม ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 คุณภาพการตัดสินใจ ประกอบด้วย 4 หลักเกณฑ์ ได้แก่ 1) ด้านความสามารถของผู้นำ 2) ด้านข้อมูล 3) ด้านความไว้วางใจ และ 4) ด้านปัญหาที่ไร้โครงสร้าง และองค์ประกอบที่ 2 การยอมรับการตัดสินใจ ประกอบด้วย 4 หลักเกณฑ์ ได้แก่ 1) ด้านการยอมรับ 2) ด้านความขัดแย้ง 3) ด้านความเป็นธรรม 4) ด้านการยอมรับลำดับความสำคัญ ส่วนประกอบคิดเป็น 66.96% และ 68.69% ของความแปรปรวนทั้งหมด ผลการวิเคราะห์ปัจจัยยืนยันชี้ให้เห็นว่าดัชนีความเหมาะสมเป็นที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ดัชนีความสอดคล้องภายในและความน่าเชื่อถือเชิงประกอบของทุกปัจจัยมีค่ามากกว่า 0.7
References
เกวลี เชียรวิชัย (2560). อัตลักษณ์ของพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(2), 29-38.
รติมา คชนันท์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สืบค้นจาก http://www. parliament.go.th/library
วิราภรณ์ โพธิศิริและ คณะ. (2559). รายงานประจําปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์พงษ์พาณิชย์เจริญผล.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2551). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มธุรดา บรรจงการ และ ธัญสินี พรหมประดิษฐ์. (2562). แรงงานทางอารมณ์ในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 7(2), 91-100.
ธีระ วรธนารัตน์. (2555). การวิจัยประเมินผลนโยบายสุขภาพที่เน้นผลกระทบความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ผลการทบทวนวรรณกรรมและศึกษาสถานการณ์. สืบค้นจาก https://sac.kku.ac.th/kmsac/ research/r19.pdf.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงค์สวัสดิ์ และ กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. (2553). รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุ ในระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท ที คิว พีจำกัด.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). ส่องงานดูแลผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/news/2836
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. สืบค้นจาก https://eh.anamai.moph.go.th/th/elderly-static/
DeVellis, R. F. (2012). Scale development: Theory and applications. Thousand Oaks, Calif: SAGE.
Etzioni, A. (1964). Modern Organizations. Englewood Cliffs: Prentice Hall.
Field H. G. & Andrews J. P. (1998). Testing the Incremental Validity of the Vroom-Jago Versus Vroom-Yetton Models of Participation in Decision Making. Journal of Behavioral Decision Making, 11, 251-261.
Ojokuku, Roseline M. & State, Nigeria. (2014). Effect of Employee Participation in Decision Making On Performance of Selected Small and Medium Scale Enterprises in Lagos, Nigeria. European Journal of Business and Management, 6(10), 93-97.
Reeder, W. (1971). Patial theories from thed 25 year reasearch programe on directive factor in Believer and social action. New York: Mcgraw hill.
Robbins, S. P. (2000). Essentials of Organizational Behavior. (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Van Loveren & Rachael K. (2007). The Effects of Decision-Making and Leadership Styles on Relationships and Perceived Effectiveness in the University Development Context. (Master’s Thesis). Retrieved from http://scholarcommons.usf.edu/etd/3855.
Vroom, V. H., & Yetton, P. W. (1973). Leadership and decision making. Pittsburgh: University of Pittsburgh Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.