การบริหารมือและแขนในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดถาวร เพื่อฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม: บทบาทพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ทาริกา แก่นเพชร พยาบาลประจำการ, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • กันตพร ยอดใชย รองศาสตราจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • บุณยวีร์ เพียงรุ่งโรจน์ พยาบาลประจำการ, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • มีนา ทองวงศ์ พยาบาลประจำการ, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • กฤติยา ปองอนุสรณ์ อาจารย์ประจำ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

คำสำคัญ:

การบริหารมือและแขน, การผ่าตัดหลอดเลือดถาวร, บทบาทพยาบาล, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

           ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เลือกการรักษาด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ต้องมีการทำเส้นชนิดหลอดเลือดถาวรเพื่อใช้ในการฟอกเลือดตลอดไปหรือรอคอยการเปลี่ยนไต แต่การทำหลอดเลือดชนิดนี้ ต้องเผื่อเวลารอให้มีการโตและแข็งแรงของหลอดเลือด ซึ่งก่อนและหลังผ่าตัดหลอดเลือดถาวรผู้ป่วยควรได้รับการส่งเสริมให้ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อมือและแขน เพื่อที่จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เพิ่มขนาด และความแข็งแรงของหลอดเลือด อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายด้วยการบริหารมือและแขนก่อนและหลังการผ่าตัดหลอดเลือดถาวรนั้น มีความหลากหลายในแนวปฏิบัติและอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ซึ่งขึ้นกับแนวปฏิบัติของโรงพยาบาลนั้น ๆ 

          พยาบาลมีบทบาทสำคัญ ในการดูแลและให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องการทำเส้นชนิดหลอดเลือดถาวรเพื่อใช้ในการฟอกเลือด เพื่อวางแผนและประเมินผู้ป่วยก่อนการทำผ่าตัดหลอดเลือด การดูแลแผลหลังผ่าตัด สังเกตอาการและอาการแสดงจากการติดเชื้อ เลือดออกและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ หลังการผ่าตัด  และแนะนำวิธีการบริหารหลอดเลือดก่อนและหลังการผ่าตัดหลอดเลือดถาวรหลังผ่าตัด ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับชนิดของหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด การทำหลอดเลือดฟอกเลือดก่อนถึงเวลาฟอกเลือด การประเมินหลอดเลือดก่อนการผ่าตัดหลอดเลือด และบทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบริหารมือและแขนก่อนและหลังการทำผ่าตัดหลอดเลือดถาวร ซึ่งพยาบาลควรคำนึงถึงน้ำหนักหรือแรงบีบของผู้ป่วยแต่ละราย การเลือกอุปกรณ์สำหรับใช้ในการบริหารมือและแขน และระยะเวลาในการบริหารก่อนและหลังการผ่าตัดที่เหมาะสม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และส่งผลทำให้ขนาดและความแข็งแรงของหลอดเลือดโตสมบูรณ์และสามารถใช้งานได้เร็วขึ้น

References

ประสบชัย คงศักดิ์ไพศาล. (2559). ปัจจัยของการไม่โตของหลอดเลือดหลังการผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดเพื่อการฟอกไต แม้ว่ามีการใช้อัลตราซาวนด์ตรวจหลอดเลือดทุกรายก่อนการผ่าตัด. วารสารแพทย์เขต 4-5, 35(3), 158-165.

ไพบูลย์ เจียมอนุกุลกิจ. (2563). การทำเส้นฟอกเลือดก่อนถึงเวลาฟอกเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(1), 181-186.

สิทธิชัย วชิราศรีศิริกุล. (2561). ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้เส้นฟอกเลือดชนิด brachial-basilic transposition arteriovenous fistula และเส้นฟอกเลือดชนิด prosthetic upper arm arteriovenous graft ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. พุทธชินราชเวชสาร, 35(2), 224-235.

โสมพันธ์ เจือแก้ว. (2561). คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไตวายที่มารับการผ่าตัดสร้างหลอดเลือดถาวรเพื่อฟอกเลือด. โครงการสอนสุขศึกษาในหอผู้ป่วย ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/624_49_1.pdf

Ahmed, G.H., & Mostafa, N.M. (2019). Comparative study between two different hand squeezing exercises in improving hand grip strength for patients underwent arteriovenous fistula surgery. International Journal of Advance Research in Nursing, 2(1), 95-100.

Chuasuwan, A. & Lumpaopong, A. (2019). Thailand renal replacement therapy year 2016-2019. Retrieved from 1.TRT-Annual-report-2016-2019.pdf (nephrothai.org)

Coker, M. A., Black, J. R., Li, Y., Varma, R., Almehmi, A., Abdel Aal, A. K., & Gunn, A. J. (2018). An analysis of potential predictors of tunneled hemodialysis catheter infection or dysfunction. The Journal of Vascular Access, 20(4), 380-385. doi:10.1177/1129729818809669

Fontseré, N., Mestres, G., Yugueros, X., López, T., Yuguero, A., Bermudez, P., . . . Campistol, J. (2016). Effect of a postoperative exercise program on arteriovenous fistula maturation: A randomized controlled trial. Hemodialysis International, 20, 306-314. doi: 10.1111/hdi. 12376

Kong, S., Lee, K. S., Kim, J., & Jang, S. H. (2014). The effect of two different hand exercises on grip strength, forearm circumference, and vascular maturation in patients who underwent arteriovenous fistula surgery. Annals of rehabilitation medicine, 38(5), 648-657. doi:10.5535/arm.2014.38.5.648

Leaf, D.A., MacRae, H.S., Grant., & Kraut, J. (2003). Isometric exercise increases the size of forearm veins in patients with chronic renal failure. American Journal of the Medical Sciences, 325(3), 115-119.

Lok, C. E., Huber, T. S., Lee, T., Shenoy, S., Yevzlin, A. S., Abreo, K., . . . Valentini, R. P. (2020). KDOQI clinical practice guideline for vascular access: 2019 update. American Journal of Kidney Diseases, 75(4, Supplement 2), S1-S164. doi: https://doi.org/10.1053/j.ajkd.2019.12.001

Oder, TF., Teodorcscu, V., & Uribarri, J. (2003). Effect of exercise on the diameter of arteriovenous fistulae in hemodialysis patients. American Society for Artificial Internal Organs Journal, 49(5), 554-554.

Reanpang, T., Prasannarong, M., Pongtam, S., Murray, S. T., & Rerkasem, K. (2019). Upper limb exercise for people on haemodialysis following arteriovenous fistula surgery. The Cochrane Database of Systematic Reviews, (5), CD013327. https://doi.org/10.1002/14651858.CD013327

Sahli, F., Feidjel, R., & Laalaoui, R. (2017). Hemodialysis catheter-related infection: rates, risk factors and pathogens. Journal of Infection and Public Health, 10(4), 403-408. doi: https://doi.org/10.1016/j.jiph.2016.06.008

Salimi, F., Majd Nassiri, G., Moradi, M., Keshavarzian, A., Farajzadegan, Z., Saleki, M., . . . Ghane, M. (2013). Assessment of effects of upper extremity exercise with arm tourniquet on maturity of arteriovenous fistula in hemodialysis patients. Journal of Vascular Access, 14(3), 239-244. doi:10.5301/jva.5000123

Schmidli, J., Widmer, M., Basile, C., Donato, G., Gallieni, M., Gibbons, C., . . . Tey, R. (2018). Vascular Access: 2018 Clinical Practice Guidelines of the European Society Vascular Surgery (ESVS). European Journal of Vascular and Endovascular Surgery, 55, 1-62. doi:10.1016/j.ejvs.2018.02.001

Wilschut, E. D., Rotmans, J. I., Bos, E. J., van Zoest, D., Eefting, D., Hamming, J. F., & van der Bogt, K. E. A. (2018). Supervised preoperative forearm exercise to increase blood vessel diameter in patients requiring an arteriovenous access for hemodialysis: rationale and design of the PINCH trial. Journal of Vascular Access, 19(1), 84-88. doi:10.5301/jva.5000826

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-04