การจัดการทางกายภาพบำบัดในภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง

ผู้แต่ง

  • ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • นงนุช ล่วงพ้น อาจารย์ประจำ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กล้ามเนื้อหดเกร็ง, รีเฟล็กซ์ยืดกล้ามเนื้อ, รีเฟล็กซ์ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

          ภาวะกล้ามเนื้อเกร็งเกิดจากการมีพยาธิสภาพที่สมองและไขสันหลัง โดยเกิดจากมีการกระตุ้นทำให้แอลฟามอเตอร์นิวรอนทำงานมากขึ้น หรือเกิดจากเพิ่มการทำงานของแกรมมามอเตอร์นิวรอน เนื่องจากขาดการยับยั้งจากสมอง ทำให้ แกรมมา-แอลฟา โคแอคทิเวชัน มีการทำงานโดยขาดการควบคุมตลอดเวลา จึงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง อาการแสดงที่พบบ่อยคือมีการตอบสนองต่อการยืดโดยการหดตัวที่มากกว่าปกติ ซึ่งกลุ่มกล้ามเนื้อหลักจะหดตัวค้างทำให้การทรงท่าหรือการเคลื่อนไหวมีความผิดปกติเกิดขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็งจึงพยายามที่จะใช้การเคลื่อนไหวชดเชยแบบนอกเหนืออำนาจจิตใจ แทนการเคลื่อนไหวที่ปกติ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบสั่นกระตุกซ้ำ ๆ  เนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานสัมพันธ์กัน  หากเกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็งเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อการผิดรูปของข้อต่อ ยิ่งทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติมากขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน ยากต่อการฟื้นฟู ผลกระทบระยะยาวส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง  ดังนั้นเทคนิคในการลดภาวะกล้ามเนื้อเกร็งจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อให้ง่ายต่อการรักษาด้วยเทคนิคอื่น ๆ ส่งเสริมให้การควบคุมการเคลื่อนไหวและการทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น บทความนี้จึงได้นำเสนอวิธีการลดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง สำหรับใช้ในทางคลินิก เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาทางกายภาพบำบัดต่อไป

References

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2547). การฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : งานตำราวารสารและสิ่งพิมพ์ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.

เฉง นิลบุหงา. (2561). ระบบประสาทและการทำงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน, ปาริชาติ อันองอาจ, ภาวิณี บำเพ็ญ, ฐิติกร จันทาทร, ชลิตา หลิมวานิช, และวุฒิพงษ์ แก้วมณี. (2562). ผลการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค Repeated Contractions ต่อการใช้พลังงานในการเดินในเด็กสมองพิการประเภท Spastic diplegia ที่มีรูปแบบการเดิน Crouch gait ร่วมกับ Apparent equinus. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 1-14.

นพพล ประโมทยกุล. (2562). การตรวจประเมินความบกพร่องของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาท. ใน คณะผู้จัดทำ (บ.ก.), การตรวจร่างกายทางกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท, (น.142). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

น้อมจิตต์ นวลเนตร์. (2549). หลักการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

ปริญญา เลิศสินไทย. (2562). ไฟฟ้าบำบัดสำหรับนักกายภาพบำบัด. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยิ่งลักษณ์ วิรุณรัตนกิจ. (2546). การรักษาด้วยความร้อนและแสง. ใน ดวงพร เบญจนราสุทธิ์ (บ.ก.), การรักษาโดยความร้อนและแสง, (น. 27-37). สมุทรปราการ, ประเทศไทย.

ยิ่งลักษณ์ วิรุณรัตนกิจ. (2550). ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว. ใน วีรยา วงษาพรหม (บ.ก.), หลักวิธีทางกายภาพบำบัดระบบประสาท, (น. 41-47). สมุทรปราการ, ประเทศไทย.

วนาลี กล่อมใจ. (2563). การจัดการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท. ใน ชุติมา ชลายนเดชะ และโสภา พิชัยยงค์วงศ์ดี (บ.ก.), ตำราการจัดการทางกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยระบบประสาท, (น.165). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

ศุลีพร ชีวะพาณิชย์. (2551). การจัดการทางกายภาพบำบัดในเด็กที่มีภาวะเกร็ง (spasticity) ใน จงจินตน์ รัตนาภินันท์ชัย (บ.ก.), ตำรากายภาพบำบัดคลินิก, (น. 31-44). เชียงใหม่, ประเทศไทย.

อารีย์รัตน์ สุพุทธิธาดา. (2547). ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ansari, N. N., Adelmanesh, F., Naghdi, S., Tabtabaei, A. (2006). The effect of physiotherapeutic ultrasound on muscle spasticity in patients with hemiplegia: a pilot study. Electromyogr Clin Neurophysiol, 46(4), 247-252.

Ansari, N. N., Naghdi, S., Bagheri, H., Ghassabi, H. (2007). Therapeutic ultrasound in the treatment of ankle plantarflexor spasticity in a unilateral stroke population: a randomized, single-blind, placebo-controlled trial. Electromyogr Clin Neurophysiol, 47(3), 137-143.

Bobath, B. (1990). Adult hemiplegia: evaluation and treatment. (3rd ed.). Oxford: Heinemann Medical Books.

Elie, P. E., Michal, E. E., Neil, N. J. (2010). Spasticity and muscle overactivity as components of the upper motor neuron syndrome. In: Walter R. Frontera. Editorin-Chief. DeLisa’s physical medicine and rehabilitation: Principles and practice. (5th edition). USA: Lippincott Williams & Wilkins.

Geibler, K. B. (1990). Physical modalities. In Glenn MB, Whyte J: Th practical management of spasticity in children and adults. Philadelphia: Lea & Febiger.

Herbert, R. D. (2000). How to estimate treatment effects from reports of clinical trials. I: Continuous outcome. Aust J Physiother, 46(3), 229–235.

Harlaar, J., Kate, J. J. T., Prevo, A. J., Vogelaar, T. W., Lankhorst, G. J. (2001). The effect of cooling on muscle co-ordination in spasticity: assessment with the repetitive movement test. Disabil Rehabil, 23(11), 453-461.

Haim, R., Weingarden, H. (2007). Neuromodulation by functional electrical stimulation (FES) of limb paralysis after stroke. Acta Neurochir Suppl, 97, 375–380.

Jayaraman, P., Puckree, T. (2010). The effects of a 12-week program of static upper extremity weight bearing exercises on weight bearing in children with hemiplegic type of cerebral palsy. SA Journal of Physiotherapy, 66(2), 22-29.

Jean, M. G. (2001). Physical modalities other than stretch in spastic hypertonia. Physical Medicine and Rehabilitation Clinics of North America, 12(4), 769-792.

Lee, S. U., Bang, M. S., Han, T. R. (2002). Effect of cold air therapy in relieving spasticity: applied to spinalized rabbits. Spinal Cord, 40(4), 167-173.

Lee, G. P., Ng, G. Y. (2008). Effects of stretching and heat treatment on hamstring extensibility in children with severe mental retardation and hypertonia. Clin Rehabil, 22(9), 771-779.

Noma, T., Matsumoto, S., Etoh, S., Shimodozono, M., Kawahira, K. (2009). Anti-spastic effects of the direct application of vibratory stimuli to the spastic muscles of hemiplegic limbs in post-stroke patients. Brain Injury Association of America, 23(7), 623-631.

Matsumoto, S., Kawahira, K., Etoh S., Ikeda, S., Tanaka, N. (2006). Short-term effects of thermotherapy for spasticity on tibial nerve F-waves in post-stroke patients. International Journal of Biometeorology, 50(4), 243-250.

Melin, N., Shelby, P., Jessika S., Irene, T. F. (2019). Weight-Bearing Interventions to Decrease Spasticity and Improve Gait in Stroke Patients: A Case Report. Retrieved from https://soar.usa.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1002&context=casmfall2019

Shumway-Cook A., Woollaott, M.H. (1995). Motor control, Theory and practical application. Baltimore: Williams & Wilkins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-26