ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยในภาวะวิกฤต ของการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โรงพยาบาลหาดใหญ่ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นราจันทร์ ปัญญาวุทโส พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ประภาพร ชูกำเหนิด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัย, การแพร่ระบาดโรคโควิด 19, การจัดการภาวะวิกฤต, ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการให้ความหมายและประสบการณ์การมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาตามแนวคิดของ Husserl  ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 14 ราย คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของ Colaizzi 

         ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพมีความหมายใน 2 ประเด็น คือ 1) การให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับตนเอง ผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน และชุมชน และ 2) การทุ่มเท เสียสละ รับผิดชอบต่อหน้าที่เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดของโรค ส่วนประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ประกอบด้วย 7 ประเด็น ดังนี้ 1) เปลี่ยนความตระหนกเป็นความตระหนัก 2) ปรับความกลัวเป็นความกล้าเข้าไปดูแลผู้ป่วยตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด  3) ร่วมคิด ร่วมออกแบบงานล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยง 4) หาความรู้และฝึกทักษะบ่อย ๆ เพื่อความคล่องแคล่วเวลาทำจริง 5) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อวันหน้าจะได้เพียงพอ 6) ให้กำลังใจเพื่อนร่วมงานให้พร้อมรับสถานการณ์ความเสี่ยง และ 7) พูดคุย แนะนำคนรอบข้างให้ป้องกันตนเองและชุมชน การศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัย และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือการจัดการภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 รวมถึงพัฒนางานคุณภาพด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other05.pdf

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่. (2562). รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปี : 2562. สงขลา: โรงพยาบาลหาดใหญ่.

ศรินทร์ทิพย์ ชวพันธุ์, พนิดา เซ็นนันท์ และรัตนาภรณ์ ธนศิริจิรานนท์. (2564). พยาบาลกับการปฏิบัติด้วย น้ำใจไมล์ที่สองในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19. วารสารสภาการพยาบาล, 36(1), 5-17.

สถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม กรมการแพทย์. (2563). โปรแกรมปกป้องบุคลากรจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID–19 สำหรับสถานบริการสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://www.nur.psu.ac.th/covid-19/file/หนังสือโปรแกรมการปกป้องบุคลากร.pdf

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ ซัคเซสฟูล.

สุธาสินี สมานคติวัฒน์, วิโรจน์ เพ่งผล, กนก ธราธารกุลวัฒนา, ช่อทิพ กาญจนจงกล, จิตราพร หงส์สวัสดิ์,สิทธิพร ดีทายาท และนัฏฐภรณ์ วงศ์สว่าง. (2563). บทบาทของวิสัญญีแพทย์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลราชบุรี. วิสัญญีสาร, 46(3), 132-135.

สุภิชญา ทองแก้ว, ปราโมทย์ ทองสุข และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2561). ความตระหนักต่อความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพใหม่ในโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 62-73.

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และสุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำรุงราศนราดูร, 14(2), 124-133.

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Catherine, H., Pauline M., Hannah, D., Mike, S., Claire, G., Andrew, B.,… Linda, M. B. (2020). Barriers and facilitators to healthcare workers’ adherence with infection prevention and control (IPC) guidelines for respiratory infectious diseases: A rapid qualitative evidence synthesis. Retrieved from: https://www.cochranelibrary.com/cdsr/doi/10.1002/14651858.CD013582/full/th doi.org/10.1002/14651858.CD013582.

Chen, S.C., Lai, Y.H., & Tasty, A.L. (2020). Nursing perspectives on the impacts of COVID-19. Journal of Nursing Research, 28(3), 1-5. doi: 10.1097/NRJ.0000000000000389.

Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth generation evaluation. Newbury Park, CA: Sage.

Hui, Z., Yi, Z., Ping, Z., Yang, L., Shuanghong, L., Zhihong, Y.,… Dandan, C. (2020). The relationship between autonomy, optimism, work engagement and organisational citizenship behaviour among nurses fighting COVID-19 in Wuhan: A serial multiple mediation. BMJ Journals, 1, 1-7. doi: 10.1136/bmjopen-2020-03971.

Karen, B. L., Linda, H. A., Douglas M. S., Rachel, F., Brendan, M., Kyrani, R.,…Matthew, D. M. (2020). Chronic hospital nurse understaffing meets COVID-19: An observational study. BMJ Journals, 10(8), 639-647. doi: 10.1136/bmjqs-2020-011512.

Kevin, B. (2020). 4 Strategies for Better Employee Participation in Safety. Retrieved from https:// www.kevburns.com/blog/4-strategies-for-better-employee-participation-in-safety

Prachi, J. (n.d.). Role of employees in crisis management. Retrieved From https://www. managementstudyguide.com/role-of-employees-in-crisis-management.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-25