ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
โปรแกรมพัฒนาศักยภาพ, สมุนไพร, การดูแลสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 38 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้โปรแกรมพัฒนาศักยภาพสร้างจากแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ Nadler เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพ และโปรแกรมพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ แบบสอบถามมีค่า IOC อยู่ในช่วง 0.97–1.00 ค่า KR-20 ของแบบสอบถามความรู้เท่ากับ 0.821 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรม เท่ากับ 0.805 และ 0.847 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ paired sample t-test
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความรู้และทัศนคติหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับสูง มีระดับคะแนนพฤติกรรมหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง และมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหลังเข้าร่วมโปรแกรมมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) บุคลากรทางสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ และสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายอื่นต่อไปได้ด้วยเช่นกัน
References
กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล, นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ และประจวบ แหลมหลัก. (2561). ผลโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(1), 275-291.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : บจก.ยูเอส อินเตอร์ พริ้นท์.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. สืบค้นจาก http://phc. moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/NewOSM-1.pdf
กรรณิการ์ มีสวัสดิ์. (2561). การให้คำปรึกษาผู้สูงอายุในครอบครัวแบบสังคมเมือง. วารสารพุทธจิตวิทยา, 3(2), 14-27.
เทศบาลตำบลคลองจิก. (2563). สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นจาก https://www.klongjig.go.th/condition.php
ปพิชญา ไชยเหี้ยม. (2560). ภูมิปัญญท้องถิ่นกับการใช้สมุนไพร. สืบค้นจาก http://www.sptn.dss.go.th/otopinfo/attachments/article/181/CF89%20(D1).pdf
พรรณภัทร อินทฤทธิ์. (2560). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 3(2), 35-42.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล, วรนิช พัวไพโรจน์, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, ลัดดาวัลย์ เตชางกูร และยุพา อยู่ยืน. (2558). ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 26(1), 119-132.
ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์ และสุภัทรา สีเสน่ห์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาล ด้านการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมผ่านการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์.วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 168-180.
สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, เรณู สะแหละ และยุวดี กองมี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านอําเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(1), 50-59.
สุภาภรณ์ ปิติพร. (2560). Our guest: ภญ. ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร. เบโด้, 3, 20-21. สืบค้นจาก http://www.bedo.or.th/bedo/backend/upload/content/2018_02/1519791085_4528.pdf
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ หน่วยบริการปฐมภูมิ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองจิก. สืบค้นจาก http://gishealth.moph.go.th/pcu/admin/pcu.php?code=01235#
อัชฌา วารีย์ และนงลักษณ์ วุฒิปรีชา. (2561). การพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพรในผู้สูงอายุบ้านท่าข้าม ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 45(2), 64-75.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Nadler, L. (1980). Corporate human resource development: a management tool. New York: Van Nostrand Reinhold.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.