ภูมิปัญญาการนวดไทย: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านในตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญา, หมอพื้นบ้าน, การนวดไทยบทคัดย่อ
ภูมิปัญญาการนวดไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ซึ่งเป็นการรักษาอาการปวดมาตั้งแต่โบราณกาล โดยเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษ สำหรับการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารวบรวมภูมิปัญญาจากหมอพื้นบ้านด้านการนวดไทยในตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีและเปรียบเทียบการรักษากับตำราเอกสารทางวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย โดยมีวิธีการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต จดบันทึก จากนั้นทำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเปรียบเทียบกับการนวดแบบราชสำนัก เส้นประธานสิบและตำแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์
ผลการวิจัย จากหมอพื้นบ้านทั้งหมด 3 ราย พบว่า หมอพื้นบ้านมีความชำนาญในการรักษาโรคแตกต่างกัน โดยหมอพื้นบ้านรายที่ 1 ชำนาญรักษาโรคปวดหลังส่วนล่าง หมอรายที่ 2 ชำนาญรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนและหมอที่ 3 ชำนาญรักษาโรคหัวไหล่ติด การรักษามีหลักการ 3 วิธี คือ 1) การนวด เป็นการนวดแบบพื้นบ้านไทยเพื่อกระตุ้นระบบประสาทและคลายกลามเนื้อ 2) การดึงยืดร่างกาย และ 3) การประคบสมุนไพร เมื่อเปรียบเทียบกับการนวดแบบราชสำนัก เส้นประธานสิบและตำแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ พบว่า มีความสอดคล้องกันทั้งแนวเส้น จุดสัญญาณ รวมทั้งกล้ามเนื้อ หลอดเลือดและเส้นเอ็น ดังนั้นความหลากหลายของภูมิปัญญาที่หมอพื้นบ้านรักษาด้วยวิธีการนวด มีความน่าสนใจและเหมาะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยและศึกษาถึงประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยทางการวิจัยเชิงคลินิกต่อไป
References
กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. (2562). คู่มือประกอบการรับรองหมอพื้นบ้าน ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรับรองหมอพื้นบ้าน พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://indi.dtam. moph.go.th/images/Kumoe_mho_2562.pdf
จุฑานาฏ อ่อนฉ่ำ และ ดลฤทัย บุญประสิทธิ์. (2561). การศึกษาการนวดไทย 4 ภาค : การวิเคราะห์องค์ความรู้และการศึกษาวิธีการปฎิบัติเชิงประจักษ์. Veridian E –Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(2), 3482-3494.
จุฬา วิริยะบุบผา, ศราวุฒิ ภุมริน, ณัฐพร กิจจาสวัสดิ์ และ อรทัย เนียมสุวรรณ. (2561). การศึกษาองค์ความรู้ในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทของหมอพื้นบ้าน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 25(3),14-29.
ชลาลัย โชคดีศรีจันทร์ และ ศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียบ. (2561). การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนด้วยการนวดตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 31-40.
ณรงศักดิ์ จันทะวัง, นุชนาถ ไหมหรือ และ เรือน สมณะ. (2558). ตำแหน่งทางกายวิภาคในขาที่สัมพันธ์กับเส้นพื้นฐานและจุดสัญญาณของการนวดราชสำนัก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 13(2), 123-133.
นพวรรณ บัวตูม, มนัสนันท์ เริงสันเทียะ, สิริพร จารุกิตติ์สกุล และ กชกร สุขจันทร์ อินทนูจิตร. (2561). การนวดไทยรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(1), 21-29.
มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมในพระราชูปถัมภ์ อายุรเวทวิทยาลัย. (2555). หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์.
มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. (2552). ตำราการนวดไทย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี จำกัด.
วัฒนะ พันธุ์ม่วง, วนิดา ขุมแร่, ภัททิรา ทองศรี และ ธนิดา ขุนบุญจันทร์. (2558). ประสิทธิผลของการนวดบำบัดโดยหมอพื้นบ้าน (หมอสุนทร นิ่มน้อม) ในการรักษาข้อไหล่ติด.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 13(2), 134-142.
สิริรัตน์ จันทรมะโน, เจนระวี สว่างอารีย์รักษ์ และ ธนิดา ขุนบุญจันทร์. (2562). ภูมิปัญญาการนวดพื้นบ้าน: กรณีศึกษาหมอนวดพื้นบ้าน 5 ราย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 17(1),26-41.
เสาวนีย์ กุลสมบูรณ์. (2555). สถานการณ์และความเคลื่อนไหวด้านการพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านไทย ประเทศไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อุษา กลิ่นหอม. (2555). ขิดเส้น วิชาการนวดพื้นบ้านอีสาน. กรุงเทพฯ: อุษา การพิมพ์.
Ajimsha, M.S., Daniel, B & Chithra, S. (2014). Effectiveness of myofascial release in the management of chronic low back pain in nursing professionals. Journal of Bodywork and Movement Therapies, 18,273-281.
Dhippayom, T., Kongkaew, C., Chaiyakunapruk, N., Dilokthornsakul, P., Sruamsiri, R., Saokaew S., & Chuthaputti, A. (2015). Clinical effects of Thai herbal compress: a systematic review and meta-analysis. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, eCAM, 2015, 942378. https://doi.org/10.1155/2015/942378
Netter, F.H. (2010). Atlas of human anatomy. (5th ed.). Philadelphia, PA: Saunders/Elsevier.
The government public relations department. (2019). Nuad Thai on the UNESCO List of Intangible Cultural Heritage of Humanity. Retrieved from https://thailand.prd.go.th/ mobile detail.php?cid=4&nid=8758
Yeun, R. Y. (2017). Effectiveness of massage therapy for shoulder pain: a systematic review and meta-analysis. The Journal of Physical Therapy Science, 29, 936-940.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.