การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ ในการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์ รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, พระสงฆ์, โรคเรื้อรัง, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ในการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง กลุ่มเป้าหมายเป็นพระสงฆ์ จำนวน 25 รูป การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และวิถีชีวิตของพระสงฆ์ที่สัมพันธ์กับชุมชน พฤติกรรมสุขภาพพระสงฆ์ และภาวะสุขภาพพระสงฆ์ ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตุการณ์ การสะท้อนผล และระยะที่ 3 การศึกษาผลลัพธ์ ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน และ การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์เป็นดังนี้ (1) พระสงฆ์มีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง (t=7.15, p<0.001) การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค (t=2.96, p=0.002) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค (t=3.30, p<0.001) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (t=3.03, p=0.002) ความคาดหวังของผลดีจากการปฏิบัติ (t=4.22, p<0.001) และการปฏิบัติตัวในด้านสุขภาพตามหลัก 4 อ. (t=4.27, p<0.001) และ (2) พระสงฆ์ที่มีค่าอัตราการกรองของไต (GFR) อยู่ในเกณฑ์ปกติมากขึ้นเป็นร้อยละ 68.00 ภาวะไขมันในเลือดสูงลดลงเหลือร้อยละ 44.00 และพระสงฆ์ทุกรูปที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถควบคุมได้ จึงประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการปฏิบัติต่อพระสงฆ์ รวมกับการพัฒนาศักยภาพด้านการดูแลสุขภาพด้วยตนเองให้กับพระสงฆ์ด้วย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ข้อมูลด้านการเจ็บป่วยของพระสงฆ์ ที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2018/06/15906

เฉลิมพล ตันสกุล, รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว และเพียงจันทร์ โรจนวิภาต. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุสงฆ์ ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ชมพูนุท สิงห์มณี, วโรดม เสมอเชื้อ และ สมศรี สัจจะสกุลรัตน์. (2560). พฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดพะเยา. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 1(1), 43-55.

ชลลดา ง่อนสำโรง และทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. (2562). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 17(1), 102-110.

ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางด้านสุขภาพสำหรับครูทีมสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

พระครูพิพิธสุตาทร และคณะ. (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช2560. นนทบุรี: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จํากัด.

พระครูสุวิธาน พัฒนบัณฑิตและคณะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 22(2), 117-128.

พีระพล หมี่เอี่ยม และ ธนัช กนกเทศ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(3), 1-12.

มินตรา สาระรักษ์, วรารัตน์ สังวะลี และ วิลาศ คาแพงศรี. (2560). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 37-48.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ. (2561). ข้อมูลสุขภาพพระสงฆ์. [เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราช มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกพระ. (2561). ข้อมูลสุขภาพพระสงฆ์. [เอกสารอัดสำเนา]. นครราชสีมา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราช มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.

ศราวิณ ผาจันทร์ และ เบญจา มุกตพันธ์. (2558). ภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 30(6), 552-561.

ศศิกานต์ ศรีมณี และ คณะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระภิกษุสงฆ์และพฤติกรรม การถวายภัตตาหารของประชาชน ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สนธนา สีฟ้า. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุ ในจังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์ จำกัด.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลวง. (2561). รายงานการดำเนินงาน ประจำปี 2561. นครราชสีมา. โรงพิมพ์ศิริอักษร.

Bandura, A. (1997). Self–efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191-215.

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals. New York: McKay.

Kemmis, S. and Mc Taggart, C. (1998). The action research planner. (3rd). Victoria: Deakin University.

McGill, I. and Beaty, L. (2000). Action Learning: A guide professional, management & Educational development. London: Kogan Page.

McGill, I. and Brockbank, A. (2004). The Action Learning Handbook. London: Routledge Falmer.

Senge, P. M. (1990). The fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday Currency.

Rogers, R.W. (1983). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. Journal of Psychology, 91, 93 -114.

Rothwell, W.J. (1999). The Action Learning Guidebook. California: Josssey - Bass/Pfeifer.

Taba, H. (1971). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-03