การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)

ผู้แต่ง

  • อรุณรัตน์ รอดเชื้อ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • พัชรินทร์ วิริยะศิริกุล อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • สุรีพร อิศวิรานนท์ หัวหน้าศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผล, ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มาตรวจจอประสาทตาครั้งแรกที่ห้องตรวจตา โรงพยาบาลบ้านแพ้ว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นแบบบันทึกข้อมูลปัจจัยทั่วไปและปัจจัยร่างกาย ส่วนที่ 2 เป็นแบบบันทึกการวินิจฉัยความรุนแรงของเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยค่าความเที่ยงของแบบ บันทึกข้อมูลเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์จำแนกประเภท

         ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ส่วนใหญ่มีอายุ   อยู่ในช่วง 41 - 60 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ 5 คือเป็นโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ร้อยละ 36.30 รองลงมาอยู่ในระดับ 3 คือเป็นโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาขั้นปานกลางร้อยละ 35.60 และปัจจัยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือผู้ป่วยเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อไม่ให้สูญเสียการมองเห็นได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กองการพยาบาล. (2539). การควบคุมคุณภาพการพยาบาล เล่ม 5. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราวรรณ แสงรัศมี. (2554). ปัจจัยทำนายภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดอุตรดิตถ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ชมรมจอตาราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). Preventing Diabetic Blindness (E-learning). สืบค้นจาก http://www.noblind.org

เด่นชัย ตั้งมโนกุล. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 33(3), 225-236.

นิภาพร พวงมี กรรณิการ์ คำเตียม และสุภเลิศ ประคุณหังสิต. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจโรคจักษุ โรงพยาบาลศิริราช. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 17(3), 336-345.

รัชดา เครสซี่. (2558). โรคเบาหวาน: ความรู้พื้นฐานและการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: บริษัทวิทอินดีไซน์ จำกัด.

รุ่งระวี นาวีเจริญ และมลฤดี ชาตรีเวโรจน์. (2556). การดูแลผู้ที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 25(2), 1-14.

วรัทพร จันทร์ลลิต. (2559). ภาวะแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 23(2), 36–45.

วิชิต ปวรางกูร. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนันอา กรุงเทพฯ. เชียงรายเวชสาร, 9(2), 73-82.

สมยศ ศรีจารนัย. (2554). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสาธารณสุข, 20(1), 118-125.

อนุพจน์ สมภพสกุล ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์ พนม สุขจันทร์ ปวริศ หะยีอามะ ฟาดีละห์ เจ๊ะสนิ กรชนก ตั้งนภาดล. . . และฟาฮัร หะยีอูเซ็ง. (2555). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(3), 29–43.

อรสิริณ กิจดาวรุ่ง ชยวิญญ์ ขจิตตานนท์ และชื่นฤทัย ยี่เขียน. (2554). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วารสารจักษุธรรมศาสตร์, 6(2), 17–24.

American Academy of Ophthalmology. (2018). Guidelines on Diabetic Eye Care. Retrieved from https://www.aaojournal.org/article

Jamal, S., Ali, M. H., Ayub, M. H., & Butt, N. H. (2016). Frequency and Grading of Diabetic Retinopathy in Diabetic End Stage Renal Disease Patient. Pakistan Journal of Ophthalmology, 32(2), 64–69.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Morrison, G. & Weston, P. (2014). An overview of diabetic retinopathy for diabetes nurses. Journal of Diabetes Nursing, 18(4), 126–136.

Nitiyanant, W., Chandraprasert, S., Puavilai, G., & Tandhanand, S. (2001). A survey Study on diabetes management in Thailand. Journal of Asean Federation of Endocrine Societies, 19, 35-41.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2017). Nursing Research Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. (10th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer.

Pradeepa, R., Anitha, B., Mohan, V., Ganesan, A., & Rema, M. (2008). Risk factors for diabetic retinopathy in a South Indian Type 2 diabetic population-the Chennai Urban Rural Epidemiology Study (CURES) Eye Study 4. Diabetic Medicine, 25(5), 536–542.

Sabanayagam, C., Yip, W., Ting, D. W., Tan, G., & Wong, T. Y. (2016). Ten Emerging Trends in the Epidemiology of Diabetic Retinopathy. Retrieved from http://dx.doi.org/10.1080/09286586.2016.1193618.

World Health Organization. (2012). Health education: theoretical concepts, effective strategies and core competencies. Retrieved from http://applications.emro.who.int/dsaf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-25