การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ถิ่นเดิม นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์
  • กุลทัต หงส์ชยางกูร อาจารย์ประจำ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อมร รอดคล้าย อาจารย์ประจำ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย อาจารย์ประจำ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การฟื้นฟูสภาพ, ภาวะกลืนลำบาก, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยและผู้ดูแล ผู้ให้บริการสาธารณสุข ผู้บริหารสาธารณสุขและผู้บริหารท้องถิ่น เครือข่ายในชุมชน รวม 27 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อค้นพบจากการศึกษา 4 ประเด็น คือ 1) การช่วยให้ได้รับสารอาหารเพียงพอและปลอดภัย ด้วยการจัดการอาหารและการรับประทาน การฟื้นฟูสมรรถภาพการกลืนลำบาก และการดูแลความสะอาดช่องปาก 2) การร่วมสร้างจิตวิญญาณเพื่อการฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากผ่านการสร้างพลังใจ การฟื้นฟูความเป็นมนุษย์ และการช่วยเหลือเกื้อกูล 3) การบูรณาการนโยบาย ด้วยการประสานนโยบายการให้บริการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน นโยบายขยายศูนย์บริการเพื่อลดความแออัดและเพิ่มการเข้าถึงบริการ และนโยบายการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยในชุมชน 4) การบริหารจัดการระบบการฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากในชุมชน ประกอบด้วย การใช้หลักการบริหารจัดการในการทำงาน การบริหารการให้บริการในผู้ป่วยกลืนลำบาก การระดมทรัพยากรชุมชน และการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ผลการศึกษาจะช่วยให้ชุมชนมีแนวทางร่วมกันในการฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถนำไปเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบการให้บริการฟื้นฟูสภาพให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้

References

นงนุช เพ็ชรร่วง, ปนัดดา ปริยทฤฆ, และวิโรจน์ ทองเกลี้ยง. (2556). การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในศูนย์สุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 4(1), 25-34.

บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อการทำหน้าที่ การรับรู้ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 28-37.

ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, เพชรไสว ลิ้มตระกูล, สมศักดิ์ เทียมเก่า, จิราพร วรวงศ์, วิฑูรย์ เชื้อสวน,…วนิดา ศรีพรหมษา. (2558). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในบริบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, (35)2, 93-112.

พิราลักษณ์ ลาภหลาย, ศุภร วงศ์วทัญญู, และยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับประทานอาหารอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ แห่งตน ผลลัพธ์การดูแล ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อบริการที่ได้รับและความปลอดภัยในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(1), 78-98.

โรงพยาบาลหาดใหญ่ ฝ่ายเวชระเบียนสถิติ. (2561). สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปี 2561. สงขลา: โรงพยาบาล.

ลัดดา ศิลาเรียม, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, และสมบัติ มุ่งทวีพงษา. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมให้ญาติมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสภาพต่อความสามารถในการกลืนและการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. พยาบาลสาร, 41(พิเศษ), 180-191.

วันวิสา คำสัตย์, และรุ้งระวี นาวีเจริญ. (2559). ผลของกิจกรรมพยาบาลการสอนแนะต่อการกลืนของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มีภาวะกลืนลำบาก. วารสารแพทย์นาวี, 43(3), 18-35.

ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์. (2561). สถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคการดูแลผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(2), 26-39.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2561). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทวงสาธารณสุข ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2565). สืบค้นจาก http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20190329105418_1_.pdf

อภิญญาวดี สินทะเกิด. (2559). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

Attrill, S., White, S., Murray, J., Hammond, S. , & Doeltgen, S. (2018). Impact of oropharyngeal dysphagia on healthcare cost and length of stay in hospital: a systematic review. BMC Health Serv Res, 18(1), 1-18. doi: 10.1186/s12913-018-3376-3.

Brogan, E., Langdon, C., Brookes, K., Budgeon, C., & Blaker, D. (2014). Factor associated with respiratory infections in the first week post stroke. Neuroepidemiology, 43(2), 140-144. doi: 10.1159/000366423.

Broadley, S., Croser, D., & Cottrell, J. (2003). Predictors of prolonged dysphagia following acute stroke. J Clin Neurosci, 10(3), 300–305. doi: 10.1016/s0967-5868(03)00022-5.

Elfetoh, E. E., & Karaly, S. M. (2018). Effect of swallowing training program on dysphagia following cerebrovascular stroke. Egypt Nurs J, 15(2), 125–134. doi: 10.4103/ENJ.ENJ_10_18

Fernandez, M. G., Ottension, L., & Atanelov, L. (2013). Dysphagia after stroke: an overview. Phys Med Rehabil Rep, 15(3), 187-196. doi: 10.1007/s40141-013-0017-y.

George, A. S., Mehra, V., Scott, K., & Sriram, V. (2015). Community participation in health systems research: A systematic review assessing the state of research, the natures of engagement with communities. PLoS ONE, 10(10), 1-25. doi: 10.1371/journal.pone.0141091

Jeon, I. J., Jung, G. P., Seo, H. G., Ryu, j. S., Han, T. y., & Oh, B.M . (2019). Proportion of aspiration pneumonia cases among patients with community-acquired pneumonia: a single-center study in Korea. Ann Rehabil Med, 43(2), 121-128.

Martino, R., Foley,N., Bhogal, S., Diamant, N., & Speechley, M. (2005). Dysphagia after stroke incidence, diagnosis, and pulmonary complications stroke. AHA Journal, 36(12), 2756-2763. doi:10.1161/01.STR.0000190056.76543.eb.

Nund, R. L., Scarinci, N. A., Cartmill,B., & Ward, B. E. (2015). Dysphagia and the Family; Seminar in dysphagia. Intech, 159-175. doi: org/10.5772/60856

Rittman, M., Faircloth, C., Boylstein, C., Gubrium, J. F., Williams, C., Puymbroeck, M.V., & Ellis, C. (2004). The experience of time in the transition from hospital to home following stroke. JRRD, 41(3a), 259-268.

World Health Organization. (2017). Cardiovascular disease (CVDs). Retrieved from https:// www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-05