ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ ต่อพฤติกรรมป้องกันและการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • พัณณ์ชิตา จันทร์สุหร่าย นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงกมล ปิ่นเฉลียว รองศาสตราจารย์, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล รองศาสตราจารย์, กลุ่มงานอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

คำสำคัญ:

โปรแกรมสางเสริมแรงจูงใจ, แอปพลิเคชั่นไลน์, พฤติกรรมป้องกันมะเร็งปากมดลูก, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

           การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจโดยใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ในการส่งเสริมป้องกันมะเร็งปากมดลูกและสัดส่วนการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

           กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุระหว่าง 35-60 ปี อาศัยในอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 25 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีแรงจูงใจในการป้องกันโรคของโรเจอร์ มีระยะเวลาดำเนินการ 8 สัปดาห์ และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที

           ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของสตรีในกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรม (M=3.25, S.D.= .30) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M=2.90, S.D.=.39) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M=2.99, S.D. 29) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสัดส่วนการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มทดลอง (ร้อยละ 44) สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (ร้อยละ 4) ควรนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการส่งเสริมให้สตรีมีพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

References

คเณศพร เตชะเสาวภาคย์ และจันทรา คงลำพันธ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการมาตรวจมะเร็งปากมดลูกในสตรีมุสลิมในเขตหนองจอกกรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์, 23(2), 232-247.

จตุพล ศรีสมบูรณ์ และชำนาญ เกียรติพีรกุล. (2554). มะเร็งนรีเวชวิทยา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

ชลศณีย์ คล้ายทอง. (2556). รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา: มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer). สืบค้นจาก http://haamor.com/th/มะเร็งปากมดลูก(Cervical Cancer).

ชัญวลี ศรีสุโข. (2560). 6 โรคร้ายที่ผู้หญิงควรระวัง. กรุงเทพฯ: คลินิกสุขภาพ.

ธนิยาภรณ์ เศรษฐิยานันท์. (2557). มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer). สืบค้นจาก http://med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?

นภัสวรรณ โอภาส. (2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคการรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและการมารับการตรวจส่องกล้องปากมดลูกในสตรีที่มีผลการตรวจเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ. วารสารพยาบาลทหารบก, 19 (ฉบับพิเศษ), 339 – 347.

ปรียานุช รุ่งเรือง. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยงที่ไม่เคยตรวจคัดกรองในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา. วารสารสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, 2(2), 36-49.

ระเบียบ แคว้นคอนฉิม. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสตรีเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรี อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, เลย.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2560). ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก. สืบค้นจาก http://www.rtcog.or.th/home/ความรู้เกี่ยวกับมะเร็ง/273/

วันเพ็ญ บุญรอด. (2558). การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนให้สตรีมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน:กรณีศึกษา ตำบลบางหัก อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารราชนครินทร์, 12(27), 153-160.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2550). การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปเสเมียร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สยามออฟเซ็ท จำกัด.

สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์. (2550). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชนที่คัดสรร: จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 9(1), 12-20.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์. (2554). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกระดับปฐมภูมิของคู่สามีภรรยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

อรศรี สุวิมล. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูกของสตรี อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Mackay, B.C. (1992). AIDS and Protection Motivation Theory (PMT): Effects of Imagined Scenarios on Intent to use Condom. Michigan: A Bell and Howell,

Roger, R. W. (1983). Cognitive and physiological process in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. In J. T. Cacioppo & R. E. Petty (Eds.), Social psychophysiology: A sourcebook. New York, Guilford.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-05