ปัจจัยทำนายความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ในเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

ผู้แต่ง

  • ผ่องศรี ศรีมรกต รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ยุทธพิชัย โพธิ์ศรี ผู้ช่วยอาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภิญญาพัชญ์ กิตติ์ธัญญาธีรกุล อาจารย์ประจำ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, ความสำเร็จในการเลิกบุหรี่, เด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบทำนาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภายใน และปัจจัยภายนอก ต่อความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ระยะ 6 เดือน ในเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และสถานแรกรับเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการที่บูรณาการกับโปรแกรมบำบัดยาเสพติด จำนวน 748 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่พัฒนาโดยผู้วิจัย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญในการดูแลบำบัดเลิกบุหรี่จำนวน 3 ท่าน  และมีค่าความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ไคว์สแควร์ และโลจิสติกส์

           ผลการวิจัยพบว่า อายุและการช่วยเลิกบุหรี่โดยพยาบาลและทีมสหวิชาชีพทำนายความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ในเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ ได้ โดยเด็กและเยาวชนอายุน้อยกว่า 18 ปี มีความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ 0.35 เท่าเทียบกับเด็กและเยาวชนที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18  ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (OR .35; 95% CI 0.22 – 0.56; p<.001) และการช่วยเลิกบุหรี่โดยพยาบาลและทีมสหวิชาชีพทำนายความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ได้ 1.78 เท่าเทียบกับเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 1.78; 95% CI. 1.11 – 2.83; p<.001) ข้อเสนอแนะเพื่อความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ พยาบาลและทีมสหวิชาชีพควรมีการวิจัยติดตามระยะยาว เพื่อพัฒนารูปแบบการช่วยเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องกับอายุของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกฯ

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2557). รายงานสถิติคดี ประจำปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน.

ผ่องศรี ศรีมรกต. (2553). การบำบัดทางเลือกเพื่อช่วยเลิกบุหรี่วิถีไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน.

ผ่องศรี ศรีมรกต. (2561). การพัฒนาระบบบริการช่วยเลิกบุหรี่โดยพยาบาลวิชาชีพและทีมสหสาขาวิชาชีพ ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน.

ผ่องศรี ศรีมรกต, จรรยา ใจหนุน, ปณยนุช สนามทอง, ยุพิน หงส์ทอง, ประทีป แสวงดี และ อรสา อัครวัชรางกูร. (2556). ประสิทธิภาพของการช่วยเลิกบุหรี่โดยพยาบาลในประเทศไทย. วารสารพยาบาล, 62(1), 32-43.

ผ่องศรี ศรีมรกต และ น้ำฝน ผ่านภพ. (2564). ความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ผ่านการบูรณาการกับโปรแกรมบำบัดยาเสพติดในเด็กและเยาวชนผู้ต้องขัง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วารสารพยาบาล, 70(1), 28-33.

ลักษมล ลักษณะวิมล, เรวดี เพชรศิราสัณห์, สายฝน เอกวรางกูร และนัยนา หนูนิล. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาล, 69(1), 1-9

Andrade D., Kinner S. (2016). Systematic review of health and behavioural outcomes of smoking cessation interventions in prisons. British Medical Journal, 26,495-501. doi:10.1136/tobaccocontrol-2016-053297.

Bancej C., O’Loughlin J., Platt R.W., Paradis G, & Gervais A. (2007). Smoking cessation attempts among adolescent smokers: a systematic review of prevalence studies. Tobacco Control, 16(e8) doi: 10.1136/tc.2006.018853.

Eric C.D., Rachel L.D., Jennifer W.T., Joseph S.K., Neal L.B., Ryan G.V., & et al. (2015). Randomized trial of reduced-nicotine standards for cigarettes. The New England Journal of Medicine, 373(14), 1340-1349. doi.org/10.1056/NEJMsa1502403.

Harvey, J., & Chadi, N. (2016). Strategies to promote smoking cessation among adolescents. Paediatrics & Child Health, 21(4), 201–208. doi.org/10.1093/pch/21.4.201.

Hwang, J.H., & Park, S.W. (2017). Is there differential responsiveness to a future cigarette price increase depending on adolescents' source of cigarette access?. Medicine, 96(26), e7311.

Lippi, G., & Henry, B.M. (2020). Active smoking is not associated with severity of coronavirus disease 2019 (COVID-19). European Journal of Internal Medicine, 75, 107–108. doi.org/ 10.1016/j.ejim.2020.03.014.

Piper, M.E., Drobes, D.J., & Walker, N. (2019). Behavioral and subjective effects of reducing nicotine in cigarettes: a cessation commentary. Nicotine & Tobacco Research: official journal of the Society for Research on Nicotine and Tobacco, 21(Suppl 1), S19–S21. doi.org/10.1093/ntr/ntz100.

Thomas, D., Abramson, M.J., Bonevski, B., Taylor, S., Poole, S.G., Weeks, G.R., & et al. (2015). Quitting experiences and preferences for a future quit attempt: a study among inpatient smokers. British Medical Journal. 5(4), e006959. https://doi.org/10.1136/bmjopen-2014-006959.

Tobacco Free Initiative (TFI). Prevention of Noncommunicable Diseases (PND). (2020). Summary of effectiveness data for smoking cessation interventions (abstinence at least six months) based on all latest Cochrane Review. Retrieved from https://www.who.int/tobacco/quitting/summary_data/en/

World Health Organization (WHO). (2020). Smoking and COVID-19: scientific brief. Retrieved from https://www.who.int/news-room/commentaries/detail/smoking-and-covid-19

Yuan, M., Cross, S.J., Loughlin, S.E., & Leslie, F.M. (2015). Nicotine and the adolescent brain. The Journal of Physiology, 593(16), 3397–3412. doi.org/10.1113/JP270492.

Zhao, Q., Meng, M., Kumar, R., Wu, Y., Huang, J., Lian, N., & et al. (2020). The impact of COPD and smoking history on the severity of COVID-19: A systemic review and meta-analysis. Journal of Medical Virology, 92(10), 1915–1921. doi.org/10.1002/jmv. 25889.

Zheng Z., Peng F., Xu B., Zhao J., Liu H., Peng J., & et al. (2020). Risk factors of critical & mortal COVID-19 cases: a systematic literature review and meta-analysis. The Journal of Infection, 81(2), e16–e25. doi. 10.1016/j.jinf.2020.04.021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18