ปัจจัยคุกคามสุขภาพและภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ ในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล พิมพ์พรมมา อาจารย์ประจำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ปัจจัยคุกคามสุขภาพ, ภาวะสุขภาพ, พนักงานเก็บขยะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ และศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุกคามสุขภาพกับภาวะสุขภาพจาก การทำงานของพนักงานเก็บขยะในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 62 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square)

          ผลการวิจัยด้านปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานพนักงานเก็บขยะที่สำคัญของพนักงานเก็บขยะ พบว่า ด้านการยศาสตร์อยู่ในระดับมาก มีการก้มและออกแรงหนักๆ และมีการยกถังขยะที่มีน้ำหนักมาก สำหรับภาวะสุขภาพจากการทำงานพนักงานเก็บขยะ ด้านการยศาสตร์มีการปวดต้นคอและหัวไหล่ จากการทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุกคามสุขภาพกับภาวะสุขภาพจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอันตรายปัจจัยคุกคามจากการทำงานด้านกายภาพกับภาวะสุขภาพจากการทำงานกายภาพของพนักงานเก็บขยะมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 (.016)  อันตรายปัจจัยคุกคามจากการทำงานด้านจิตวิทยาสังคมกับภาวะสุขภาพจากการทำงานด้านจิตวิทยาสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ p<.05 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญ และตระหนักการเฝ้าระวังทางสุขภาพอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ พัฒนารูปแบบการจัดการและป้องกันปัญหาระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ รวมถึงด้านสุขภาพจากการทำงาน

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://infofile.pcd.go.th/Waste/Wst2018.pdf

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. (2553). คู่มือการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกรณีจากการจัดการขยะมูลฝอยหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER47/DRAWER015/GENERAL/DATA0000/00000049.PDF

นริศรา เลิศพรสวรรค์ ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2560). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ. พยาบาลสาร, 44(2), 138-150.

ศิริพรรณ ศิรสุกล. (2554). ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ:กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดนครปฐม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

โศรญา ปรักมานนท์. (2559). ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง. (การศึกษาเฉพาะทางด้านสาธารณสุขปริญญาบัณฑิต). วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร, ตรัง.

สมเจตน์ ทองดำ และจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2561). ผลกระทบทางด้านสุขภาพของแรงงานคุ้ยขยะในหลุมฝังกลบขยะ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(1), 14-27.

โสมศิริ เดชารัตน์. (2559). คุณภาพชีวิตของพนักงานเก็บขยะกรณีศึกษาภาคใต้ประเทศไทย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 6-15.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 (นครปฐม). (2558). รายงานผลการติดตามและประเมินประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนในแม่น้ำลุ่มน้ำท่าจีน. สืบค้นจาก http://waste.onep.go.th/images/file/1500608105.pdf

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ. (2559). คู่มือแรงงานนอกระบบปลอดภัยใสjใจสุขภาพ (กลุjมอาชีพเก็บและคัดแยกขยะ). นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Jeong, B. Y., Lee, S., & Lee, J. D. (2016). Workplace Accidents and Work-related Illnesses of Household Waste Collectors. Safety and Health at Work. 7(2), 138-142.

Velasco, G. M., Bittner, C., Harth, V., & Preisser, A. M. (2015). Health status and health-related quality of life of municipal waste collection workers – a cross-sectional survey. Journal of Occupational Medicine and Toxicology. 10, 1-7. doi: 10.1186/s12995-015-0065-6.

Ziaei M., Choobineh A., Abdoli-Eramaki M., & Ghaem H. (2018). Individual, physical, and organizational risk factors for musculoskeletal disorders among municipality solid waste collectors in Shiraz, Iran. Industrial Health. 56(4), 308-319.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-17