ความต้องการและความคาดหวังกิจกรรมทางกายของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
ความต้องการ, ความคาดหวัง, กิจกรรมทางกายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการและความคาดหวังกิจกรรมทางกายของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน เป็นผู้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดนครนายก จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบโดยการวิเคราะห์สถิติทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการและความคาดหวังกิจกรรมทางกายทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบความต้องการและความคาดหวังกิจกรรมทางกายพบว่าเพศและช่วงอายุของประชาชนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ระดับการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ข้อเสนอแนะหน่วยงานท้องถิ่นสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการส่งเสริมกิจรรมทางกายให้กับประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดนครนายกได้
References
คณะกรรมการพัฒนาร่างแผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. (2560). แผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573. สืบค้นจาก http://dopah.anamai.moph.go.th/wp-content/uploads/2020/01/Master-Plan-for-Promoting-National-Physical-Activity.pdf
ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยนุช ลือชัย. (2554). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด แรงจูงใจ และทัศนคติที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อหนังสื่อการ์ตูนความรู้แนววิทยาศาสตร์ฉลาดรู้ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
มรกต สมบัติศิลป์และสุชาติ ทวีพรปฐมกุล. (2560). ความต้องการกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพของผู้ใช้บริการในลานกีฬา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา. 9(3), 79-87.
ระวีวรรณ มาพงษ์, คณิตา คุ้มสิงสันและสนธยา สีละมาด. (2559). กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมนั่งนาน จำนวนเวลาและคุณภาพของการนอนหลับของนิสิตปริญญาตรี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 17(2), 84-98.
พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2529). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรพิมล ภูมิฤทธิกุล และคณะ. (2556). รายงานการวิจัยความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนมหาวิทยาลัยสยาม.
พิไลวรรณ จันทรสุกรี. (2540). ความคาดหวังในงานของนักศึกษาพยาบาลปีที่สี่วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีในเขตภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วรรณาพร ศรีอริยนันท์. (2556). ความคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลปทุมธานี. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
วริศ วงศ์พิพิธ, ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์และสิทธา พงษ์พิบูลย์. (2563). กิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่ง : แนวทางและการประเมิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(1), 1-21.
วสุ สิทธิสาร. (2553). ความต้องการซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด สวนศรีและปราจิต ทิพย์โอสถ. (2556). ความต้องการออกกำลังกายของประชาชนในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Information_Center/Attach/25621124013609AM_17.pdf
สำนักงานจังหวัดนครนายก, กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). บรรยายสรุปจังหวัดนครนายก ประจำปี 2559. สืบค้นจาก http://nakhonnayok.go.th/download/sum-nayok2559.pdf
อภิวัฒน์ ปานทอง. (2557). สภาพและความต้องการการออกกําลังกายของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 11(52), 25-31.
อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์. (2559). การสร้างกิจกรรมทางกายกับความหนัก 3 ระดับ. สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/
อารี พันธ์มณี. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
อัจฉรา ปุราคม และคณะ. (2556). คู่มือการจัดกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
Christopher, Elizabeth A. (1976). A Survey of the Lifetime Sports Needs and Interests of Seniors Citizens in Middle. (Doctoral dissertation). Middle Tennessee State University, Tennessee.
Klapper, J.T. (1960). The effects of mass communication. New York: Free Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. New York : Macmillan Company.
_______. (1971). The Farther Reaches of Human Nature. NY: McGraw-Hill.
Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice. New York: Appleton and Lange.
Vroom V H. (1964). Work and motivation. New York: Wiley.
World Health Organization. (2010). Global Recommendations on Physical Activity for Health. Geneva.