ผลของการประยุกต์ใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการสนับสนุน การจัดการตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและดัชนีมวลกาย ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้แต่ง

  • ปรีณาพรรณ กาญจนสำราญวงศ์ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อุมาพร ปุญญโสพรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ, การจัดการตนเอง, โรคหลอดเลือดหัวใจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 32 ราย การทดลองนี้แบ่งระยะดำเนินการออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะควบคุม (สัปดาห์ 1-6) และระยะทดลอง (สัปดาห์ 7-12) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกภาวะสุขภาพและสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจหลังการได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนและหลังระยะควบคุมไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายหลังระยะทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายก่อนและหลังระยะควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การประยุกต์ใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการสนับสนุนการจัดการตนเองในการพยาบาล มีผลทำให้กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มีพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจที่ดีขึ้น ควรนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างต่อเนื่องและศึกษาผลระยะยาวของโปรแกรมต่อการเปลี่ยนแปลงดัชนีมวลกายต่อไป

References

จรีรัตน์ สุทธิพัฒนางกูร. (2558). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

จันจิรา หินขาว, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, และสุนทรี เจียรวิทยากิจ. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ เพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสื่อมของไตระยะที่ 3.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 185-202.

จันทร์เพ็ญ หวานคำ. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

จิราวรรณ ลีลาพัฒนาพาณิชย์ และอรุณี พันธุ์โอภาส. (2560). ผลของการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจและการแปลผลการตรวจวัดมวลสารในร่างกายต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่มีภาวะอ้วนและรอบเอวเกิน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 25(2), 113-119.

จุฑามาศ คชโครต, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, พัชราพร เกิดมงคล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, และอรวรรณ แก้วบุญชู. (2555). พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของพนักงานธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์, 19(1), 71-86.

จุฑามาศ เทียนสะอาด และนิโรบล กนกสุนทรรัตน์. (2559). การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(1), 223-232.

ณรงค์กร ชัยวงศ์ และปัณณทัต บนบุนทด. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 6-15.

ธิดารัตน์ อภิญญา. (2559). หลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พิชชาดา สุทธิแป้น. (2559). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดีและผลลัพธ์สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นครนายก.

สว่างจิต คงภิบาล. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุพรรณ สมควร. (2554). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการส่งเสริมการออกกำลังกายที่บ้านในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าแบบอิสระ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุภาพร ทิพย์กระโทก และธนิดา ผาติเสนะ. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนลงพุง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 210-223.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2557). คู่มือประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2562) ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลกปี พ.ศ.2562. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge

อรพินท์ สีขาว, และคณะ. (2561). พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลที่มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 22(43-44), 1-12.

อิทธิพล แก้วฟอง, ชมนาด วรรณพรศิริ, และสุภาพร แนวบุตร. (2561). ผลโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อ ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และระดับไขมันในเลือดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 10(2), 57-71.

Cohen, Jacob. (1988). Statistical power analysis of the behavioral sciences. NewYork: McGraw-Hill Book Company

Kanfer, F.H., & Gaelick, L. (1991). Self management methods. In Kanfer F. H. , & A.P. Goldstein (Eds.). Self-management methods in helping people change: A textbook of methods. (4th ed.). NewYork: Pergamon Press.

Miller W.R. & Rollnick S. (1991). Motivation Interviewing: Preparing People to Change Addictive Behavior. New York: The Guilford press.

National Cholesterol Education Program. (2002), Third Report of the National Cholesterol Education Program (NCEP III). Institute. Retrieved from https://www.ahajournals.org/ doi/10.1161/circ.106.25.3143

Tajsier L. Thompson. (2018). Impact of Motivation Interviewing on Body Mass Index. (Doctoral dissertation). Andrews University, Michigan.

World Health Organization (2018). WHO. The top 10 causes of death, World Health Organization. Retrieved from https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/the -top-10-causes-of-death.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15