ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อิสรา จุมมาลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การจัดการเรียนการสอน, รายวิชายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 308 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป (4 ข้อ) และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน (33 ข้อ) หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Congruence Index : IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูล ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือ ด้วยสถิติทดสอบค่าที (Independent Samples t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.11, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.21, S.D. = 0.63) ที่เหลืออยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเนื้อหา (x̄= 4.19, S.D.= 0.60) ด้านการจัดการเรียนการสอน (x̄= 4.11, S.D. = 0.62) ด้านการวัดและประเมินผล (x̄= 4.07, S.D. = 0.67) และด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน (x̄= 3.96, S.D. = 0.74) ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต พบว่า นิสิตที่มาจากกลุ่มสาขาวิชาที่ต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยที่ได้สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่อไป

References

กองทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2562). หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2562: คณะเภสัชศาสตร์. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ไกรศิลป์ โสดานิล. (2556). ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาทักษะดนตรีในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ (สากล) มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 26(1), 110-119.

จตุรัตน์ กันต์พิทยา, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, เฉลิมชัย อภิญญานุรักษ์, มณเฑียร เปสี และ จงเจริญ เมตตา. (2556). การประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอน รายวิชา 371581 รังสีวิทยาคลินิก โดยนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2554. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 28(4), 530-536.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2552). ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์ของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 33(ฉบับพิเศษ), 23-34.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2552). ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประจำปีการศึกษา 2/2552 (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา.

ชวนีย์ พงศาพิชณ์, นพคุณ สุขสถาน, วิมล เหมือนคิด และ สุนทรี ศักดิ์ศรี. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการ : กรณีศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(2), 63-69.

บรรจง พลไชย. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปะ การสื่อสาร และการนำเสนอ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 63-74.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548. (2548, 25 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนพิเศษ 39 ง. หน้า 14-23.

ปริญญาภรณ์ พิลึก. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาบูรณาการอายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 15(3), 434-442.

มนตรี สังข์ทอง, ประภาส กลับนวล, วรรณภรณ์ สุทนต์, อเนก พุทธิเดช และ จินดาพร คงเดช. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิที่มีต่อการเรียนการสอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 18(3), 67-79.

มนัสนันท์ ปิ่นพิทักษ์. (2556). วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์. ราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 15(2), 77-85.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สมฤดี พงษ์เสนา, กัญญา บวรโชคชัย และ อรวรรณ ริ้วทอง. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(3), 94-107.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2558). ประสิทธิผลการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนศึกษา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 83-92.

สุรัตน์ หารวย, มณฑิชา รักศิลป์, ภัทรภร เจริญบุตร, ชนฏ์พงศ์ เครือศิริ และ รมณียากร มูลสิน. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาการสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 ต่อคุณภาพหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 7(1), 151-160.

เสรี สิงห์โงน, สาลินี จันทร์เจริญ และ ธัญลักษณ์ กองชัยมงคล. (2562). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล, ใน อมรศักดิ์ สวัสดี, เจษฎา มิ่งฉาย และ อภิรักษ์ สงรักษ์ (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติ: วิชาการรับใช้สังคม ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 15-16 สิงหาคม 2562 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช, (น. SS.56). สืบค้นจาก http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/6632

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อิสรา จุมมาลี และ วิลาสินี หิรัญพานิช. (2551). ความคิดเห็นของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหาสารคามต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาเภสัชวิทยา 1 สำหรับนิสิตพยาบาล. วารสารวิชาการ ม.อบ., 10(2), 88-96.

อุทุมพร จามรมาน. (2544). วิธีทำการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา : รวมตัวอย่างดัชนี เกณฑ์ และรายงานประเมินตนเอง. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับลิชชิ่ง.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey : Prentice Hall Inc.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160. doi:10.3758/BRM.41.4.1149

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-16