ผลของภาวะซึมเศร้าต่อความเร็วในการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรดาว เสพย์ธรรม อาจารย์ประจำ สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ศิรินทิพย์ ภักดี อาจารย์ประจำ สาขาวิชากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ความเร็วในการเดิน, การทรงตัว, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของภาวะซึมเศร้าต่อความเร็วในการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความเร็วในการเดินและการทรงตัว อาสาสมัครจำนวน 72 คน อายุระหว่าง 60-80 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 36 คน และกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 36 คน อาสาสมัครทุกคนได้รับการทดสอบ 10 meter walk test ซึ่งแสดงค่าความเร็วในการเดิน และ 8 feet up and go test ซึ่งแสดงค่าการทรงตัว ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ามีความเร็วในการเดิน (10 MWT) และการทรงท่า (8 feet up and go test) เท่ากับ 1.00±0.23 เมตร/วินาที และ 9.96±4.22 วินาที ตามลำดับ และผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีความเร็วในการเดินและการทรงท่าเท่ากับ1.30±0.20 เมตร/วินาที และ 6.71±1.16 วินาที ตามลำดับ ซึ่งความเร็วในการเดินและการทรงท่าในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ามีค่าน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้งานวิจัยได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความเร็วในการเดินและการทรงตัวพบว่าความเร็วในการเดินและการทรงตัวมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลาง (r=0.589 และ r=0.527 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินและการทรงท่าในผู้สูงอายุซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวดังนั้นในการให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าควรให้ความสำคัญทั้งในส่วนของปัญหาทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจ

References

กมลพร วงศ์พนิตกุล. (2555).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

จำลอง ดิษยวณิช และพริ้มเพรา ดิษยวณิช. (2547). ความเครียดและสรีรวิทยาของความเครียด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 47(3), S3-27.

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2556). ภาวะซึมเศร้า: การบำบัดและการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สุขภาพจิตผู้สูงอายุไทย. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014.

อำไพวรรณ พุมศรีสวัสดิ. (2543).การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

Aldwin, C.M., Igarashi, H., Gilmer, D.F., & Levenson, M.R. (2018).Health, Illness, and Optimal Aging: Biological and Psychosocial Perspectives. (3rded.). New York: Springer Publishing Company.

Aziz, R., & Steffens D.C. (2013). What are the causes of late-life depression? The Psychiatric clinics of North America, 18(87), 249-263.

Bailey, K.p., Sauer C.D., & Herrell, C. (2002). Mood disorder. St.Louis: Mosby.

Beck, A. T. (1967).Depression. Clinical, experimental and theoretical aspects. New York: Harper and Row.

Chewasopit, W. (2019). AGING SOCIETY: THE CHANGED MARKETING FACTOR. Journal of MCU Nakhondhat, 6(1), 38-53.

Curcio, C.L., Gomez, F., & Reyes-Ortiz C.A., (2009). Activity restriction relate to fear of falling among older people in the columbian andes mountains: Are functional or psychological risk factor more important?. Journal of Ageing and Health, 21(3), 460-479.

Deshpande, N., Metter, E.J., Bandinelli, S., & Lauretani F. (2008). Psychological, physical and sensory correlate of fear of falling and consequent activity restrictionin the elderly: The In CHIANTI Study. American Journal of Physical Medicine & Rehabilitation, 99(6),453-458.

Friedrich, M. J. (2017). Depression is the leading cause of disability around the word. Journal of the American Medical Association, 317(15), 15-17.

Gomes, Cd.S., Maciel, A.C.C., Freire, Ad. N., & Moreira, Md.A. (2014). Depressive symptoms and functional decline in an elderly sample of urban center in northeastern Brazil. Archives of Gerontology and Geriatrics, 58(2), 214-218.

Mammen, G., & Faulkner, G. (2013). Physical Activity and the Prevention of Depression A Systematic Review of Prospective Studies. American Journal of Preventive Medicine, 45(5), 649-657.

Miguel, L. G., Luia, A., Azpicueta, R. & Figueiras, V. (2010). Adaptively biasing the weights of adaptive filters. IEEE Transactions on Signal Processing, 58(7), 3890-3895.

Prasomsri, J., Jalayondeja, C., Bovonsunthonchai, S., & Khemthong, S. (2014). Walking and Stair Climbing Abilities in Individuals After Chronic Stroke wxith and without Mental Health Problem. Journal of the Medical Association of Thailand, 97(7), S10-5.

Sanderman, R., & Oremel, J. (2005). Depression in older people after fall- related injurie: a prospective study. Age and Ageing, 32(1), 88-94.

Sapolsky, R.M. (2001). Depression, antidepressants and the shrinking hippocampus. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 98(22), 12320 -12322. United States of America.

Sooksompong, S., Kwansanit, P., SupanyaS., & Chutha, W. (2016). The Thai National Mental Health Survey 2013: Prevalence of Mental Disorders in Megacities: Bangkok. The Journal of The Psychiatric Association of Thailand, 61(1), 75-88.

United Nations Population Fund. (2012). Ageing in the twenty-first century: A celebration and a challenge. New York: Author.

Wontasong, N. (2008). Factors Related to Fall in the Fall-Risked Elderly Living in a Community. (Master’s Thesis). Khon Kaen University, Khon Kean.

World Health Organization. (2017). Depression and other common mental disorders: Global health estimates. Geneva: World Health Organization

World Health Organization (2018). Ageing and health. Retrieved from http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health.

Wongpanarak, N., & Chaleoykitti, S. (2014). Depression: A Significant Mental Health Problem of Elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 24-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-17