คุณค่าด้านการสื่อสารของเรื่องสำคัญในการตรวจสอบของบริษัทในกลุ่มเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กัณฐณัฏฐกรณ์ แก้วบุญมา นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นฤนาถ ศราภัยวานิช รองศาสตราจารย์ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อมลยา โกไศยกานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภูริทัต อินยา อาจารย์ประจำ ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คุณค่าด้านการสื่อสาร, เรื่องสำคัญในการตรวจสอบ, รายงานผู้สอบบัญชี, กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร, กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าด้านการสื่อสารของเรื่องสำคัญในการตรวจสอบของบริษัทในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงินและหน้ารายงานผู้สอบบัญชีฉบับภาษาอังกฤษของบริษัทในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปี 2560 ข้อมูลสำหรับ 3 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 248 ข้อมูล (82, 79 และ 87 บริษัท ตามลำดับ)  จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุผลการศึกษาพบว่ารายงานผู้สอบบัญชีที่มีวรรคเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ (Key Audit Matter: KAM) อ่านง่ายกว่ารายงานผู้สอบบัญชีที่ไม่มีวรรคเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ และรายงานของผู้สอบบัญชีที่มีวรรคเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ (KAM) มีโทนของเนื้อหาเป็นลักษณะเชิงลบมากกว่ารายงานของผู้สอบบัญชีที่ไม่มีวรรคเรื่องสำคัญในการตรวจสอบ (KAM)  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการเพิ่มวรรค KAM ในรายงานผู้สอบบัญชีจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้สอบบัญชีต้องการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้นและจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นต่องบการเงินมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มคุณค่าด้านการสื่อสารให้กับรายงานทางการเงินอย่างแท้จริง  ดังนั้น จึงเป็นประโยชน์ต่อสภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อจะได้ใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการพิจารณาเกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ผู้สอบบัญชีสามารถกำหนดรูปแบบของรายงานผู้สอบบัญชีรวมทั้งการเลือกใช้คำในการสื่อสารเพื่อให้รายงานของผู้สอบบัญชีมีคุณค่าด้านการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

References

ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์. (2558). คุณค่าของรายงานผู้สอบบัญชีแบบใหม่. วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(31), 26-44.

ชาญชัย ตั้งเรือนรัตน์. (2558). ประเด็นสำคัญและการประยุกต์แนวคิด เรื่องสำคัญในการตรวจสอบ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 11(32), 110-127.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/dat/eod/listedcompany/static/listedCompanies_th_TH.xls

ปภาณัช เดชจรัสศรี, จอมใจ แซมเพชร, อมลยา โกไศยกานนท์. (2562). คุณค่าด้านการสื่อสารของเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากรและกลุ่มเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 17 (1), 43-55.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). รายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่. สืบค้นจาก http://www.fap.or.th/images/column_1437124552/รายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 701 การสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต. สืบค้นจาก http://www.fap.or.th/images/column_1450769638/Draft%20TSA%20701%20(Revised1)_P_Final_21_12_58.pdf

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2558). ระบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สำหรับธุรกิจเกษตรและอาหารไทย จากนโยบายและแผน วทน.แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555-2564) สู่แนวทางการขับเคลื่อน: สาขาอาหารแปรรูป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นท์เอเบิ้ล จำกัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง. (2562). มูลค่าการส่งออก แยกตามหมวดหลักสินค้าและหมวดย่อยสินค้าปี พ.ศ.2558 ถึง พ.ศ.2561. สืบค้นจาก http://dwfoc.mof.go.th/Dataservices/IECountryAndCategory

อรรณพ คุณาวงษ์กฤต. (2556). เกษตรพอเพียง หรือ เกษตรอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก http://www.cusar.chula.ac.th/index.php/article/15-2013-03-11-08-57-53

อุณากร พฤฒิธาดา, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ, ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2550). รายงานของผู้สอบบัญชี. กรุงเทพฯ: หจก.ทีพีเอ็น เพรส.

Gunning, R. (1944). Fog Index. Retrieved from https://readable.io/content/the-gunning-fog-index/

Henry, E. (2008). Are Investors Influenced by How Earnings Press Releases are Written?. Journal of Business Communication, 45, 363-407.

Li, F. (2008). Annual report readability, current earnings, and earnings persistence. Journal of Accounting and Economics, 45, 221-247.

Loughran, T., and B. McDonald. (2011). When is a liability not a liability? Textual analysis, dictionaries, and 10-Ks. Journal of Finance, 66(1), 35-65.

Seely, J. (2013). Oxford Guide to Effective Writing and Speaking: How to Communicate Clearly. United Kingdom : OUP Oxford.

Smith, K. W. (2016). Tell me more: A Content Analysis of Expanded Auditor Reporting in the United Kingdom. (Doctoral dissertation). Retrieved from SSRN: http://dx.doi.org/10.2139/ ssrn.2821399

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-16