การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วรรณา สัตย์วินิจ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง   คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 ราย และทีม ผู้ดูแลได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง จำนวน 18 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดคุณภาพการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ดัชนีความตรงตามเนื้อหามีค่าเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์หาความเที่ยงมีค่าเท่ากับ .80 เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมิถุนายน 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลกับเกณฑ์มาตรฐานด้วยสถิติ Z test, One sample t test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ ส่งผลให้เกิดการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมผู้ดูแล  ปฏิบัติการพยาบาลตามปัญหาและความต้องการผู้ป่วยได้ครอบคลุม ประเมินผลการ ปฏิบัติและมีการปรับปรุงพัฒนาการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิต ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยขณะอยู่โรงพยาบาลน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และอัตราการเข้ารับการรักษาซ้ำของผู้ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันไม่แตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน การปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของทีมผู้ดูแล และความสมบูรณ์ของบันทึกทางการพยาบาลสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสมบูรณ์ของบันทึกทางการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          ผลการศึกษาสามารถพัฒนาต่อเป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ โดยเน้นการปฏิบัติการพยาบาลที่ครอบคลุมในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับถึงจำหน่ายจากโรงพยาบาล

References

ข้อมูลหน่วยเวชระเบียนและสถิติ. (2550 - 2552). จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลโพธาราม. งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี.

จริยา ตันติธรรม. (2547). กลยุทธ์การพยาบาลผู้ป่วย: โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.ในจริยา ตันติธรรม และคณะ (บรรณาธิการ). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณการ.

ทัศนีย์ แดขุนทด. (2550). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี โดยใช้รูปแบบ ผู้จัดการรายกรณี ณ. โรงพยาบาลสกลนคร. Journal of cardio-thoracic july-december. vol.18 No.2 pp. 21-35.

พรศิริ พันธสี . (2549) . การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.academic.hcu.ac.th.

เรณู เครืออนันต์. (2550). การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล โรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://team.sko.moph.go.th.

วิมลรัตน์ บำรุงพงษ์. (2551). ผลของการใช้โปรแกรมการปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดภาวะช็อกจากการเสียเลือดในผู้ที่มีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.bcnnv.ac.th.

สำนักการพยาบาล. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อัจฉรา เตชฤทธิพิทักษ์ และคณะ. (2543). มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด. กรุงเทพมหานคร: ลิฟวิ่ง ทรานส์ มีเดีย.

อารมณ์ เฟื่องฟูและปนัดดา มณีทิพย์. (2552). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 28, 2 .(เม.ย -มิ.ย 52) : 230 -240.

อุบลรัตน์ ดีพร้อม. (2550). การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของโรงพยาบาลสุรินทร์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://women.thaiza.com.

Emslie, C.(2005). "Women men and coronary heart disease : a review of the qualitative literature" Journal of advanced nursing. 51 (4) : 382-395.

Deming, W. Edwards . (1986). Out of the Crisis. MIT Center for advanced engineering study. ISBN 0-911379-01-0.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-04-30