ปัจจัยทำนายพฤติกรรมของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก

ผู้แต่ง

  • ปิยะวรรณ สุขเจริญพงษ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          โรคไข้หวัดนกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย การดำเนินการควบคุมและป้องกัน โรคไข้หวัดนก ควรมุ่งให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับรู้ในปัญหา โดยเฉพาะครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมให้มีบทบาทในการดูแลสุขภาพสมาชิกในครอบครัวการวิจัยครั้งนี้ได้นำแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพของเบคเกอร์และไมแมน (Becker & Maiman, 1980)   มาประยุกต์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยนี้  โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของแกนนำสุขภาพครอบครัว และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของแกนนำสุขภาพครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือแกนนำสุขภาพครอบครัวในตำบลบางเลน และตำบลบางไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 155 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2553 โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งเครื่องมือวัดแบบสอบถามได้สร้างขึ้นมา ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐาน การรับรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก ปัจจัยด้านสิ่งชักนำที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน อีตา และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ     

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก ได้แก่ ระดับการศึกษา การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคไข้หวัดนก การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้หวัดนก การรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรคไข้หวัดนก และการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก ได้แก่ รายได้ ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก และการรับรู้ต่ออุปสรรคของการป้องกันโรคไข้หวัดนก ปัจจัยการรับรู้ถึงประโยชน์ของการป้องกันโรคไข้หวัดนก การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก การรับรู้ต่ออุปสรรคของการป้องกันโรคไข้หวัดนก สามารถร่วมกันทำนายความผันแปรของพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก ได้ร้อยละ70.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า พยาบาลเวช ปฏิบัติชุมชนควรส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก โดยเน้นที่การส่งเสริมด้านการรับรู้ประโยชน์ การให้ข้อมูลข่าวสารและการรับรู้ต่ออุปสรรคของการเกิดโรค ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2551). สรุปบทเรียน การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก และการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุข. (2548). คู่มือการปฏิบัติงานโรคไข้หวัดนกสำหรับบุคคลกรด้านการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่. แผนยุทธศาสตร์ ป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่2 (พ.ศ. 2551 - 2553). นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ชฎาภรณ์ บุตรบุรี. (2550). การสร้างพลังชุมชนเพื่อจัดตั้งระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกโดยชุมชน ตำบลนครชุมน์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดารินทร์ อารีย์โชคชัย และคณะ. (2547). Risk factors of Asian flu in Thailand 2004. รายงานการสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 17.

ทวี โชติพิทยสุนนท์ และคณะ. (2548). ตำราโรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

นฤมล กล่อมจิตรเจริญ. (2552). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

บุญตา เจนสุขอุดม และคณะ. (2550). การรับรู้ข่าวสารโรคไข้หวัดนก และการมีส่วนร่วมในการ ป้องกันโรคไข้หวัดนก ของแกนนำสุขภาพ จังหวัดอุทัยธานี. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ประสิทธ์ นิมสุวรรณ์. (2550). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้หวัดนก อำเภอเมือง นครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิณรวี สิงห์โต. (2550). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวด้านการบริโภคอาหาร ในชุมชนตำบลนางแก้ว จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

พิทักษ์พงศ์ พายุหะ. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเลปโต สไปโรซีส ของผู้รับผิดชอบงานประจำสถานีอนามัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทราพร ศรีสูงเนิน และคณะ. (2548). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

วนิดา วิระกุล และ ถวิล เลิศชัยภูมิ. (2544). การศึกษาระบบการพัฒนาการเรียนรู้และระดับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

ศรีสุดา ปิ่นประชานันท์. (2549). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก แกนนำสุขภาพประจำครอบครัว อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิววงศ์ เหมือนละมั้ย. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. โรงพยาบาลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สุพัตรา กิ่งเนตร. (2549). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อติชาต หงส์ทอง. (2549). ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดนกของประชาชนที่เลี้ยงสัตว์ปีกในจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์ชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Becker, M.H. (1974). The health belief model and personal health behavior. New Jersey : Charlaes B. Slack, Inc.

________, et al. (1974). The Health Belief Model. and Sick Role Behavior. Health Education Monographs, 2 (4), 409-429.

________ & Maiman, L.A. (1975). Sociobehavioral Determinants of Compliance with Health and Medical Care Recommendations. Medical Care, 13 (12).

________ & Maiman, L., Kirsschht, J., Haefner, D., & Drachman, R. (1977). The Health Model and dietary compliance: A Field experiment. Journal of Health and Social Behavior, 18, 10-24.

________& Maiman, L.A. (1980) Strategies for Enhancing Patient Compliance. Journal of Community Health, 6 (2), 113-128.

Bloom, B.S., et al. (1975). Taxonomy of Educational Objective. Handbook I : Cognitive Domain. New York: David Macay Company, Inc.

________, Madaus. GR.I. & Hasting, J.T.(1975). Evolution to Improve Learning. New York: Mc.Graw-Hill Book Company.

Burgess, W. & Ragland, E.C. (1983). Community health nursing, process, practice. Norwalk, Connecticut : Appleton - Crofts.

Calman, M.W. & Moss, S. (1984). The Health Belief Model and compliance with education at a class in breast self examination. Journal of Health and Social Behavior, 25 (June), 198-210.

Friedman, M.M. (2003). Family nursing: research, theory & practice. 5th edition. New Jersey : Pearson Education.

Janz, N.K. & Becker, M.H. (1984). The Health Belief Model: A decade later. Health Education Quarterly. 11 (1), 1-47.

Kasl, S.A., & Cobb, S. (1966). Health behavior, illness behavior and sick-role behavior. Archives of Environmental Health, 12 (4), 531-444

Rosenstock, I,M. (1974). Historical origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs., 2(4), 328-335.

_____________. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-385.

____________, Strecher, V.J. & Becker, M.H. (1988). Social Learning Theory and the Health Belief Model. Health Education Quarterly, 15 (2), 175-183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-04-30