การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา เขตเทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พิสิษฐ์ สุนทราวิฑูร วิทยาลัยเชียงราย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงาน ปัญหา ข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษาเขตเทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย  อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร อาจารย์ นักเรียนแกนนำที่รับผิดชอบงานป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษา มีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ  ด้านการมีส่วนร่วมกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้อง  ด้านการจัดกลไกเฝ้าระวังปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด  ผลการปฏิบัติระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือและให้โอกาสกับนักเรียน 2) ปัญหาในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  คือ การให้ความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องยังไม่มากเท่าที่ควร ขาดงบประมาณ การควบคุมดูแลนักเรียนไม่เพียงพอและทั่วถึง บุคลากรผู้รับผิดชอบขาดความชำนาญ  การสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับโทษและวิธีการป้องกันยาเสพติดในการสอนรายวิชาต่างๆ น้อย  การปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการสนับสนุนให้มีกิจกรรมทางเลือกไม่เพียงพอ 3) ข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสถานศึกษา เสนอให้มีการวางแผนร่วมกันของบุคคลหลายฝ่ายจากทั้งในและนอกสถานศึกษา ตรวจหาผู้ติดยาเสพติด และบำบัดรักษาฟื้นฟู ดำเนินการจัดการปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาอย่างเคร่งครัด สร้างเสริมกิจกรรมวิชาการและรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด ควบคุม สอดส่อง ดูแลพฤติกรรมนักเรียน และการขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการดูแลเด็กในปกครองอย่างใกล้ชิด

References

เดชา สุทธิปัญโญ. (2548). การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ต่าย เซี่ยงฉี เจิดหล้า สุนทรวิภาต อุเทน ปัญโญ อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. (2546). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sri.cmu.ac.th/~nsac/ .Research_Acrobat/Research_in_2546/Research_46_08.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 27 กันยายน 2553).

ปราณี สุทธิสุคนธ์ ดุษณี ดำมี และเกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม. (2551). เส้นทางเข้าสู่ยาเสพติด วัยรุ่น วัยเรียน. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 6(2) : 143-150.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2550). โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://nctc.oncb.go.th/new/ebook/ebook_032.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 27 กันยายน 2553).

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). บทเรียนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://nctc.oncb.go.th/new//administrator/.components/com_fabrik/attachfiles/52_Lesson_Learns.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 27 กันยายน 2553).

สายัณห์ ดำดี. (2546). การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของคณะกรรมการฝ่ายปกครองโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2553). แบบสำรวจสถานะความเข้มแข็งของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://drugfreeschool. oncb.go.th/files/distinguish%202.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 18 ตุลาคม 2553).

สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2553). สถานการณ์ปัญหายาเสพติดปี 2553 และแนวโน้ม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nccd.go.th/upload/content/suj.pdf.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 18 ตุลาคม 2553).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-08-31