แนวโน้มความมั่นคงในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • ธนพร ศริพงษ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ  1)  ศึกษาแนวโน้มความมั่นคงในชีวิตของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี  สถาบันอุดมศึกษาเอกชน   2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับแนวโน้มความมั่นคงในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชน  6  ด้าน ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย  ด้านสุขภาพอนามัย  ด้านการมีงานทำและรายได้  ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ด้านการมีชีวิตคู่และความสัมพันธ์ของครอบครัว   และ ด้านการสนับสนุนทางสังคมและวัฒนธรรม 3) ปัญหาและความต้องการเพื่อความมั่นคงในชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 4 จังหวัด ได้แก่กรุงเทพมหานคร  นนทบุรี  นครปฐม และปทุมธานี  และได้เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  sampling)  ได้สถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 6 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  มหาวิทยาลัยสยาม  วิทยาลัยราชพฤกษ์  มหาวิทยาลัยคริสเตียน  และมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน  400  คน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)  วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยทดสอบค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-square)

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย   มีคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00-2.99  เรียนอยู่กลุ่มสาขาวิชาบริหาร พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยวและเศรษฐศาสตร์   มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล    บิดามารดาหรือผู้ปกครองประกอบอาชีพธุรกิจอิสระ มีรายได้เฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า  200,000 บาท
  2. แนวโน้มความมั่นคงในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 
  3. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ  เกรดเฉลี่ยสะสม กลุ่มสาขาวิชา ภูมิลำเนา  รายได้เฉลี่ยต่อปีของบิดามารดา  และอาชีพของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง  ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มความมั่นคงในชีวิต  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของชีวิต. (2550). สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ ประเทศไทย ปี 2550. กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของชีวิต.

กองส่งเสริมการมีงานทำ. (2547). การตัดสินใจเลือกอาชีพ. กรุงเทพฯ : กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

ไชยเยศ ธงภักดี. ( 2547). ปัจจัยที่ใช้ประกอบการเลือกอาชีพและการเตรียมตัวของนักศึกษา สถาบันการศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดุษฎี อายุวัฒน์ และสร้อยบุญ ทรายทอง . (2551). การพัฒนาความมั่นคงในชีวิตของวัยรุ่นในชนบทอีสาน. วิทยานิพนธ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พีรวัชร เวียงคำ. (2543). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น . รายวิชาการศึกษา อิสระ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยคริสเตียน.

สังคม ศุภรัตนกุล และคณะ. (2551). ความมั่นคงของมนุษย์ในชุมชนกลายเป็นเมือง. หนองบัวลำภู : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2545). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่29 (พ.ศ.2551-2565). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2548). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับอุดมศึกษา รองสอง (พ.ศ.2549-2553). กรุงเทพฯ : สำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554). กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุทธิภาส ศรีวรรธนะ. (2544). ทัศนะของประชาชนต่อการสร้างความมั่นคงในชีวิต : กรณีศึกษา บริษัท เอ.ไอ.เอ. จำกัด. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-08-31