จากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ไปสู่ประเทศศูนย์กลางการคมนาคมทางบก กับศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • สงกรานต์ กลมสุข มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ความร่วมมือในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater mekong sub-region : GMS) เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ ที่ประกอบด้วย ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน (เฉพาะจีนตอนใต้ได้แก่มณฑลยูนนานและกวางสี) ตั้งแต่ปี 2535 โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asia Development Bank - ADB) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักทางด้านงบประมาณ ผ่านการเชื่อมโยงตามแนวเศรษฐกิจ (Economic corridor) ตามหลัก 3Cs (Connectivity, Competitiveness, Communities) โดยมีจุดประสงค์หลักในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและกระชับความสัมพันธ์ของชุมชนในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และนำไปสู่การขยายเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างกันได้ในอนาคตหนึ่งในประเทศสมาชิก GMS ที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนี้ก็คือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจนนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคที่สำคัญหลายอย่างกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศ ทำให้ประชาชนได้ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ และสิ่งที่ตามมาคือขีดความ สามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Tourism carrying capacity) ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการพัฒนาสาธารณูปโภคนั้นสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโรงแรมให้มีมาตรฐาน การปรับปรุงสนามบินหลักทั่วประเทศให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ในระดับนานาชาติ การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่ทำให้การเดินทางของนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงในทุกพื้นที่ของประเทศ และที่สำคัญยังเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างประเทศอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ประเทศลาว จากเดิมที่เป็นประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล (Land Lock) ไปสู่การเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางในการคมนาคมทางบก (Land Link) ที่สำคัญที่สุดของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้ในอนาคต การพัฒนาเหล่านี้ทำให้ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลายเป็นประเทศที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในอนาคต จนอาจกลายมาเป็นคู่แข่งทางการท่องเที่ยวที่สำคัญกับประเทศไทยในอีกไม่นานก็ว่าได้

References

"ฉลอง 450 ปี สถาปนา "นครเวียงจันทน์" ยิ่งใหญ่" (2553). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oknation.net/blog/loongjame/2010/10/05/entry-3. (วันที่สืบค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2553).

บุนมี เทบศรีเมือง. (2553). ความเป็นมาของชนชาติลาว การตั้งถิ่นฐานและการสถาปนาอาณาจักร. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์. "ก้าวย่างที่มองไปไกลกว่าแค่เป็น Land Link". ผู้จัดการ 360 องศา. 2 ( 16 มีนาคม 2553) : 19.

ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์. "คำม่วน ชุมทางใจกลาง Land Link". ผู้จัดการ 360 องศา.1 (2 มกราคม 2552) : 15.

ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์. "4 เส้นทางใหม่สู่หวงพระบาง". ผู้จัดการ 360 องศา.1 (5 เมษายน 2552) :11.

ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์. (2553). "หินฟู งูใหญ่และช้างเผือก" .[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=78808. (วันที่สืบค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2553).

"ประเทศลาว". (2553). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.th/wikipedia.org/wiki/ประเทศลาว. (วันที่สืบค้นข้อมูล 9 ตุลาคม 2553).

"ประวัติศาสตร์ลาว" . (2553). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.th/wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์ลาว. (วันที่สืบค้นข้อมูล 9 ตุลาคม 2553).

รับขวัญ ชลดำรงกุล. "Getting to know GMS getting to know your opportunity". ผู้จัดการ 360 องศา. 2 (16 มิถุนายน 2552) : 11.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2553). หลวงพระบางเมืองมรดกโลก : ราชธานีแห่งความทรงจำและพื้นที่พิธีกรรมในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : สายธาร.

ศรัทธา ลาภวัฒนเจริญ. (2553). คู่มือเที่ยวลาว 3 มิติด้วยเงิน 6,000 บาท LAOS PARADIZE (หลวงพระบาง-วังเวียง-เวียงจันทน์). กรุงเทพฯ : Romantic tripper.

สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล. (วันที่ 4 มีนาคม 2553). "ร่องรอยกาลเวลา : ศรีโคตรบอง อำนาจแห่งวิถีชีวิตไร้พรมแดน". บ้านเมือง : 6.

เอกรัฐ บรรเลง. "ชุมทางปากแบ่ง สวรรค์ของแบ๊คแพคเกอร์". ผู้จัดการ 360 องศา. 2 (16 มีนาคม 2553) : 13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-08-31