การจัดการความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์

ผู้แต่ง

  • รัศมี ลักขณาวรรณพร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การดำเนินธุรกิจปัจจุบันต้องเผชิญกับความเสี่ยง โดยผลของความเสี่ยงสามารถส่งผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กรได้  ด้วยเหตุดังกล่าวผู้บริหารจึงต้องให้ความสำคัญในการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างต่อเนื่องยั่งยืน  ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ เกิดจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี สำหรับปัจจัยภายในได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการผลิต ด้านนโยบาย และด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์  ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ นอกเหนือจากเงิน วัสดุ และเทคโนโลยี  ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารจึงควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ความเสี่ยง  ประเมินความเสี่ยง  ควบคุมความเสี่ยง และติดตามประเมินผลการจัดการความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร และรวมทั้งความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายในองค์กร

References

“คู่มือการบริหารความเสี่ยง กฟผ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ http://prinfo.egat.co.th/addbase_save/file/53040101011/11.pdf .(วันที่ 27 พฤษภาคม 2553).

“คู่มือการบริหารความเสี่ยง ชสอ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ www.fsct.com/fsct_main.php?f1=risk.htm.(วันที่ 28 พฤษภาคม 2553).

เจริญ เจษฏาวัลย์. (2548). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ : บริษัทพอดี จำกัด.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ : สูตรไพศาล.

“แนวทางการบริหารความเสี่ยง”. (ออนไลน). เข้าถึงได้ที่ http://pwc.com/thailand. (วันที่ 27 พฤษภาคม 2553).

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยงด้าน HR. กรุงเทพฯ : ส.ส.ก.

สำนักงานปลัดกระทรวง. การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. “แผนบริหารความเสี่ยง สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์”.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ http://blog.m-society.go.th/media/users/audit/Riskplan.doc. (วันที่ 27 พฤษภาคม 2553).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-08-31