การพัฒนาบริการสุขภาพแบบผสมผสานของคลินิกสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน - สะแกราย อำเภอเมืองนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบผสมผสาน ครอบคลุมและต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และพัฒนาคลินิกสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยคริสเตียน - สะแกราย ให้เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาและแหล่งประโยชน์ของชุมชน คณะผู้วิจัยทำการศึกษาในคลินิกสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยคริสเตียน ซึ่งเปิดให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่ใกล้เคียง  โดยมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้ ศึกษาความต้องการของนักศึกษา บุคลากรและประชาชนในหมู่บ้านสะแกราย ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม  ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน 2552 และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 

  1. ระบบบริการสุขภาพของคลินิกสุขภาพชุมชนเป็นการบริการแบบผสมผสาน ต่อเนื่อง ครอบคลุม และเป็นองค์รวม โดยให้บริการทั้งในมิติของบริการส่งเสริมสุขภาพ บริการป้องกันโรค และบริการฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ประชาชนทุกวัยและทุกภาวะสุขภาพนอกจากนั้นยังไปให้บริการดูแลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุในกลุ่มที่มีปัญหาในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 
  1. จากการศึกษาได้แนวทางในการพัฒนาคลินิกสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยคริสเตียน- สะแกรายให้ได้ตามมาตรฐานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วยการเตรียมสถานที่  บุคลากร เครื่องมือทางการแพทย์  วัสดุการแพทย์ และเวชภัณฑ์ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีในหน่วยบริการปฐมภูมิ 
  2. นอกจากนั้นจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ยังได้พัฒนาคลินิกสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยคริสเตียน- สะแกราย ให้เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา  โดยได้มีการเตรียมบุคลากร เตรียมชุมชน เครื่องมือและวัสดุการแพทย์ เพื่อให้บริการได้ตามมาตรฐานการบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ

References

กันยาลักษณ์ เตชะพงศ์วรชัย และจินตนา ยูนิพันธ์. (2548). ผลการใช้รูปแบบพันธมิตรในการ จัดบริการสุขภาพในชุมชนต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล. 45(3) : 197-207.

ขนิษฐา นันทบุตร. (2008). ระบบดูแลสุขภาพชุมชน : แนวคิด เครื่องมือการออกแบบ. นนทบุรี : อุษาการพิมพ์.

จอนผะจง เพ็งจาด กนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์ ประภาพร จินันทุยา และฐิตภา หลิมสมุทร (2548). การศึกษาประสิทธิผลของบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในเขตปทุมวัน ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วิทยาสารพยาบาล สภากาชาดไทย. 30(1) : 11-34.

ดวงพร หุ่นตระกูล. (2550). การพัฒนาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นงพิมล นิมิตรอานันท์. (2549). สมรรถนะพยาบาลชุมชน ในสถานบริการระดับปฐมภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก. 7(2) : 9-13.

ทัตพิชาญ์ พิมอักษร. (2548). การใช้กระบวนการพยาบาลครอบครัวของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทองพูน กริ่งสันเที๊ยะ. (2547). การให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประจักร บัวผัน. (2548). การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์บริการวิชาการ. 13(2) : 31-42.

ประเวศ วะสี. (2549). เป้าหมาย 6 ประการของระบบสุขภาพ. โรงพยาบาลชุมชน. 8(2) : 25-27.

วันดี สุทธรังษี ภัณฑิรา โมสิกะ วรวิทย์ กิติศักดิ์รณรงค์ และนิภาส นิลสุวรรณ. (2548). วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 25(2) : 11-28.

วินัย ดะห์ลัน และจงจิตร อังคทะวานิช. (2548). แนวคิดในการสร้างศูนย์สุขภาพสหเวชศาสตร์ชุมชนเพื่อคนทุกวัย. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์สูงอายุ. 6(3) : 41-46.

วิไลวรรณ เทียมประชา. (2547). การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเชิงรุก แก่ผู้ป่วยเบาหวาน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณะ. (2548). เส้นทางสร้างสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.

สุภาณี อ่อนชื่นจิตร ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2545). เอกสารประกอบโครงการ "การอบรมบุคลากรเพื่อรองรับการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ" เอกสารอัดสำเนา. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทรวิโรฒ.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2541). แนวคิดในการจัดบริการแบบปฐมภูมิและความสัมพันธ์กับการจัดบริการระดับอื่น. เอกสารอักสำเนา สำนักงานปฏิรูประบบสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). ระบบบริการปฐมภูมิในฝัน : บนเส้นทางสุขภาพดีถ้วนหน้า. หมออนามัย. 18(5) : 44-48.

อดิศักดิ์ อธิตมานนท์ บรรณาธิการ. (2550). กรอบคุณภาพของเครือข่าย PCU ฉบับปฐมบท. นนทุบรี : อุษาการพิมพ์.

อุไร จารประพาฬ และคณะ. (2552). ระบบข้อมูลเพื่อสร้างสุขภาวะโดยชุมชนตำบลปากพูน. สุขภาวะโดยชุมชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-12-31