ภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้พิการ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ศากุล ช่างไม้ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ความพิการเป็นสถานะทางสุขภาพอย่างหนึ่ง  ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆในการดำรงชีวิตแต่ละวัน ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น การเจ็บป่วยและการได้รับการบาดเจ็บ  ดังนั้นการมีข้อมูลพื้นฐานภาวะสุขภาพและภาวะพึ่งพาของผู้พิการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้พิการที่อาศัยอยู่ในวัดวังขนายทายิการาม ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ประชากรเป็นผู้พิการอายุระหว่าง 34-50 ปีขึ้นไป จำนวน 57 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้พิการ แบบประเมินภาวะสุขภาพของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของกรมพัฒนาสุขภาพจิต แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะปลายนิ้ว 

          ผลการวิจัยพบว่าผู้พิการส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 85.96 มีปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงมาก จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ  71.90   ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ  57.89 ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกับกลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้า คือจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 42.11  สำหรับความรุนแรงของความพิการจนมีภาวะพึ่งพา พบว่า ผู้พิการส่วนใหญ่ไม่มีความต้องการพึ่งพาทางกายแต่อาจมีการปฏิบัติกิจกรรมที่ไม่เป็นปกตินัก จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 43.90  และผู้พิการที่มีความพิการปานกลางจนถึงมีความพิการรุนแรงอย่างมาก มีจำนวน  32 คน คิดเป็นร้อยละ  56.10  

          ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการเฝ้าระวังการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้พิการกลุ่มนี้ และขณะเดียวกันควรมีการจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเป็นเบาหวานและการมีภาวะซึมเศร้า รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้พิการให้สามารถพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, (2551). มาตรฐานการพัฒนาและสงเคราะห์ผู้พิการ. กรุงเทพ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2550). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเพทฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์.

เนตรนภา ขุมทอง. (2546). การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพเพื่อผู้พิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพ: อุษาการพิมพ์

รุ่งทิพย์ กาญจนวิทิต และปิยะภัทร พัชราวิวัฒน์พงษ์. (2548). ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันแบบมีอุปกรณ์ของผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 15(1),1-9.

วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. (2539). การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยสูงอายุไทย. สารศิริราช. 48(11), 976-982

สุทธิชัย จิตตะพันธ์กุล. (2542). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2551). แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์.

Challis D., et al., (2000) Dependency in older people recently admitted to care homes. Age and Ageing, 29, 255-260.

Craven, R.F. and Hirnle, C.J. (2000). Fundamentals of nursing: human health and function. Third edition, Philadelphia: Lippincott.

Escorpizo, R., Stucki, G., Cieza, A., Davis, K., Stumbo, T., and Riddle, D.L. (2010). Creating an Interface between the International Classification of Functioning, Disability and Health and Physical Therapist Practice. Physical Therapy, 90(7), 1053-1063.

King, I. M. (1992). King's theory of goal attainment. Nursing Science Quarterly. 5(1), 19-26.

Orem, D.E., Taylor, S. and Renpenning, K. (2001). Nursing: concept of practice. Philadelphia: Mosby.

Roy, C. and Andrews, H.A. (1999). Roy adaptation model. St. Louis: Appleton and Lange.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-12-31