ประสบการณ์บทบาทการเป็นมารดาที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ที่เข้าร่วม โครงการการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ เอช ไอ วี จากแม่สู่ลูก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ศิวะยุทธกิจ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การติดเชื้อ เอช ไอ วี และการป่วยเป็นโรคเอดส์ ทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับและนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย การยอมรับผลเลือด การดำรงชีวิตอยู่กับการติดเชื้อพร้อมกับการแบกรับภาระเลี้ยงดูบุตรนับเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ยากลำบากและซับซ้อนของมารดาผู้ติดเชื้อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเจาะลึก  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์บทบาทการเป็นมารดาที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ที่เข้าร่วมโครงการการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ เอช ไอ วี จากแม่สู่ลูก ของโรงพยาบาลกระทุ่มแบน  จังหวัดสมุทรสาคร เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 - มีนาคม 2554 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากผู้ให้ข้อมูลที่มีประสบการณ์ตรง จำนวน 10 ราย  เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถามปลายเปิดตามกรอบแนวคิดการดำรงบทบาทมารดาของเมอร์เซอร์ (Mercer, 1981) ร่วมกับแบบสังเกตและแบบบันทึก ทำการพิทักษ์สิทธิ์อย่างเคร่งครัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบประเด็นหลักของประสบการณ์บทบาทการเป็นมารดาที่ติดเชื้อ ดังนี้ 1) ปฏิกิริยาเมื่อรับทราบผลเลือดของมารดาติดเชื้อ สามีและญาติ ในช่วงแรกรู้สึกตกใจ ช็อค และปฏิเสธ  ระยะต่อมาจึงยอมรับได้และให้กำลังใจกันเพื่อดำเนินชีวิตต่อไป 2) ผู้หญิงกับภาระหลายบทบาท อาทิบทบาทมารดาที่เผชิญความยากลำบากในการเลี้ยงดูบุตรในขณะที่ตนเองติดเชื้อและบุตรมีโอกาสติดเชื้อด้วย  การแสดงความรับผิดชอบในฐานะมารดา การเลี้ยงดูบุตรอย่างถี่ถ้วนและทะนุถนอม ข้อจำกัดของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา  บทบาทการทำงานเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัว  บทบาทแม่บ้าน และบทบาทภรรยา 3) การตัดสินใจของผู้หญิงในการมีบุตร การปกปิดและเปิดเผยผลเลือด การมีชีวิตต่อไปและวิถีทางการดำเนินชีวิต  4) จุดเปลี่ยนของชีวิตเมื่อผู้หญิงเข้าสู่ระบบการบำบัดเยียวยา มีความเคร่งครัดในการรับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น 5) แหล่งที่มาของปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ แหล่งกำลังใจจากครอบครัว เพื่อน บุคลากรสุขภาพและกลุ่มผู้ติดเชื้อ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสิทธิประโยชน์ที่พึงมี - พึงได้ และ 6) ประเด็นทางสตรีนิยมในด้านความรักและความอดทนของผู้หญิง  และ "ผู้ชาย" ในมุมมองจากผู้หญิงติดเชื้อ

          ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาระบบบริการกลุ่มผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี และผู้ป่วยเอดส์ ทั้งในด้านการบริหารและการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้มารดาติดเชื้อเข้าถึงบริการทางสุขภาพและได้รับการดูแลต่อเนื่อง

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2553). แนวทางการดำเนินงานเพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ เอช ไอ วี จากแม่สู่ลูกและการดูแลแม่ - ลูกและครอบครัวที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทรา ว่องวัฒนกูล. (2551). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคมต่อการแสดงบทบาท การเป็นมารดา ในมารดาที่ทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลมารดาและทารก มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุฑามาศ วัลลภาชัย. (2551). การประเมินผลโปรแกรมการปรึกษาด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดวงชีวัน บูรณะกิจ. (2544). ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลครอบครัว มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงกมล วัตราดุลย์. (2545). แนวทางการพัฒนาบริการสุขภาพสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS ในประเทศไทย:การเรียนรู้ จากผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลมารดาและทารก มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทัศนีย์ สาธุธรรม. (2546). คุณภาพชีวิต ศักยภาพและความต้องการแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี และผู้ป่วยเอดส์. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญนภา ภักดีวงศ์. (2549). การพัฒนาโมเดลความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของทฤษฎีเมอร์เซอร์ของมารดาไทยติดเชื้อ เอช ไอ วี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ผ่องสาย จูงใจไพศาล. (2541). คุณภาพชีวิตของมารดที่ติดเชื้อเอดส์: กรณีศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภรธิดา คำเด่นเหล็ก. (2551). บทบาทสมาชิกในการดูแลผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี ที่ได้รับยาต้านไวรัส อำเภอจัน จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มาลินี ถิ่นกาญจน์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเอดส์ในโครงการรับยาต้านไวรัส จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ลำยา เกียรติดำรงสกุล. (2549). การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วันเพ็ญ พูลเพิ่ม. (2550). การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี และผู้ป่วยเอดส์ที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยใช้การสร้างพลังร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม : ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คบไฟ.

สมนิต คำมงคล. (2548). ความไม่เสมอภาคทางเพศด้านกฎหมายกรณีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์.

สุพิศ สุวรรณประทีป และคณะ. (2542). แบบแผนการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรกของมารดาที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลมารดาและทารก มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2552). สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์. http://www.ddc.moph.go.th

อรไท พิพิธพัฒน์ไพสิฐ. (2547). การปรับทางจิตสังคมของผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี ที่ได้รับยาต้านไวรัส จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Coopersmith, S. (1984). SEI: Self - Esteem Inventories. California: Consulting Psychology Press, Inc, 126.

Freud, A. (1979). The ego and the mechanism of defense. London : The Hogarth press.

Mercer, R. T. (1981). The theoretical framework for studying factors that impact on the maternal role. Nursing Research, 30(2), 73-77.

_______. (1985). The process of maternal role attainment over the first year. Nursing Research, 34,198-204.

_______. (1986). Predictors of maternal role attainment at one year post-birth. Western Journal of Nursing Research, 8(1), 9-32.

_______. (1995). Experience and inexperienced mother's maternal competence during infancy. Research in Nursing & Health, 18, 333-343.

_______. (2004). Becoming a mother versus maternal role attainment. Journal of Nursing Scholarship, 36, 226-232.

Morse, J.M. & Field, P.A. (1995). Qualitative research methods for health professionals. Thousand Oaks, CA: Sage.

Rubin, R. (1984). Developmental Tasks of Pregnancy. Minnesota Department of Health. Available:http://www.health.state.mn.us/divs/fh/mch/HOMEcurriculum/chp7/handout1.

Orem. D.E. (1991). Nursing : Concepts of Practice. 3rd. ed. New York: McGraw-Hill book Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-12-31