ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง แบบบูรณาการต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของเจ้าหน้าที่สตรี ในโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • นาวิกา รอดเชื้อ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลโพธาราม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental study) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองแบบบูรณาการ ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของเจ้าหน้าที่สตรี ในโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยใช้กระบวนการเรียนรู้และการเสริมแรงทางบวกและทางลบเพื่อให้มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ระยะเวลาดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552-กุมภาพันธ์ 2553 กลุ่มประชากรเป็นเจ้าหน้าที่สตรี ในโรงพยาบาลโพธาราม จำนวน 157 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่พัฒนาโดยทีมผู้วิจัยซึ่งดัดแปลงมาจากแบบประเมินพฤติกรรมการตรวจเต้านมของรัชนีกร  ทรัพย์ทอง(2550:57)และแบบประเมินความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองซึ่งดัดแปลงมาจากแบบประเมินความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมของกรมอนามัย วิเคราะห์์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนความรู้ด้วยสถิติ Paired-sample t-test และเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมด้วยสถิติไคสแควร์

          ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่สตรีมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองแบบบูรณาการสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการติดตามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังได้รับโปรแกรมแล้ว 6 เดือน พบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 79 มีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และเจ้าหน้าที่ร้อยละ 21 ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองแบบบูรณาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้และการเสริมแรงนับเป็นรูปแบบหนึ่งที่ควรนำไปใช้ในการส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สตรีเห็นความสำคัญของการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ทำให้เจ้าหน้าที่สตรีได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ และมีการพยากรณ์โรคที่ดี

References

ข้อมูลสถิติของกระทรวงสาธารณสุข. (2543). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.dtam.moph.go.th/alternative/news/newsblockdetail.php?newsis=2251. (วันที่สืบค้น 5 พ.ย. 2552).

ข้อมูลสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2547). สถิติการเกิดมะเร็งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.

ข้อมูลสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2549-2550). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.thailab-online.com/sec7castat.htm (21/10/52). (วันที่สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2552).

ดาริน โต๊ะกานิ, บุญยิ่ง ทองคุปต์ และประดังพร ทุมมาลา. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีที่มารับบริการในคลินิกวัยทองของโรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ฉบับปฐมฤกษ์ 1(มกราคม-เมษายน). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://journal.pnu.ac.th/images/stories/vol/v1no1/v1no1-6.pdf (21/10/52). (วันที่สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2552).

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2545). กระบวนการเรียนรู้ ความหมาย แนวทางการพัฒนาและปัญหาข้องใจ. กรุงเทพฯ : บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) จำกัด.

ธนพล ไหมแพง. (2544). "มะเร็งเต้านม". วารสารสงขลานครินทร์. 19(1) : 31-41.

พรพิมล คุ้มหมื่นไวยและคณะ. (2549). "รายงานการวิจัยการตรวจเต้านมด้วยตนเองของบุคลากรสาธารณสุข พื้นที่เขตสาธารณสุขที่ 4 ". วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 4(1) : 33-43.

รัชนีกร ทรัพย์ทอง. (2550). ผลของการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของภรรยาทหารเรือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุดาและคณะ. (2546). "รายงานวิจัยเจตคติและการตรวจเต้านมด้วยตนเองของพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์". 21(3), กันยายน-ธันวาคม :71-81.

สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุดา. (2550). "มะเร็งเต้านม : บทบาทพยาบาลในการป้องกัน". วารสารพยาบาลศาสตร์. 25(2), พฤษภาคม-สิงหาคม : 27-34.

สุภาพร มหาวรรณ์. (2544). ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมใจ วินิจกุลและวรุณวรรณ ผาโคตร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเพื่อการป้องกันมะเร็งเต้านม ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.kcn.ac.th/research/research_list.htm#29. (วันที่สืบค้น 18 สิงหาคม 2553).

อุมาพร พรหมเขมรและคณะ. (2549). การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เล่ม 1:กายวิภาคของเต้านม โรคมะเร็งเต้านมและการตรวจวินิจฉัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Entrekin, N. (1987). Breast cancer. In core curriculum for oncology using. editedby C.R. Ziegfeld. Philadelphia : W.B. Saunders Company.

Frank-Stromborg, M., & Rohan, K. (1992). Nursing'involvement in the primary and secondary prevention of cancer. Cancer nursing. 5(2) : 79-108.

Foster,R.S., & Costanza,M.C. (1984). Breast self-examination practices and breast cancer survival. Cancer. (53) :999-1005.

Schlueter, L.A. (1982). Knowledge and beliefs about breast cancer and breast self-examination among athletic and non athletic woman. Nursing research. (31) : 348-353.

Skinner, B. F. (1964). Scince and human behavior. New York : The Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-12-31