ความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก (วัยผู้ใหญ่ อายุ 26-30 ปี)

ผู้แต่ง

  • สุปราณี แตงวงษ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก (วัยผู้ใหญ่ อายุ 26-30 ปี)  เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) โดยศึกษาความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก และศึกษาอำนาจในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคลต่อความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แม่เดี่ยวเลี้ยงลูกวัยผู้ใหญ่ โดยมีอายุระหว่าง 26-30 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดเพชรบุรี รวมจำนวนทั้งสิ้น 210 คน โดยเก็บข้อมูลใน  3 จังหวัด จังหวัดละ 70 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive  sampling)  จนครบตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละจังหวัด  ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูกและแบบวัดความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ  ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก (วัยผู้ใหญ่ อายุ 26-30 ปี)  โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.73 , S.D. = .82)  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับมาก คือ มิติด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ด้านกายภาพ (x̄ = 4.25 , S.D. = .53)  รองลงมาซึ่งก็อยู่ในระดับมาก ได้แก่ มิติด้านการสนับสนุนทางสังคม (x̄ = 3.96 , S.D. = .63)  อันดับที่สามซึ่งค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากคือ มิติด้านความมั่นคงส่วนบุคคล (x̄ = 3.92 , S.D. = .76) ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดแต่ยังอยู่ในระดับมากเช่นกันคือ มิติด้านสิทธิและความเป็นธรรม (x= 2.94, S.D. = .68)

          ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูกจากการวิจัยครั้งนี้พบว่า  สาเหตุการเป็นแม่เดี่ยวเลี้ยงลูกมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับเล็กน้อยกับมิติของความมั่นคงในชีวิต (r = -.134) จำนวนบุตรกับมิติของความมั่นคงในชีวิตนั้นมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับเล็กน้อยเช่นกัน (r = -.083) ส่วนระดับการศึกษานั้นพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับเล็กน้อยกับมิติของความมั่นคงในชีวิต (r = .072) ในเรื่องอาชีพของกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกแต่ยังอยู่ในระดับเล็กน้อย  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(r = .188)  ในเรื่องรายได้ของกลุ่มตัวอย่างพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับเล็กน้อยกับมิติของความมั่น คงในชีวิต (r = .064) ส่วนลักษณะครอบครัวกับมิติของความมั่นคงในชีวิตพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับเล็กน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  (r = .146) ตัวแปรตัวสุดท้าย คือ จำนวนปีของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูกกับมิติของความมั่นคงในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับเล็กน้อย (r = -.042)   

          ส่วนอำนาจในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคลต่อความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูกจากการวิจัยครั้งนี้พบว่า อาชีพ  สามารถทำนายความมั่นคงในชีวิตของแม่เดี่ยวเลี้ยงลูกได้ร้อยละ 3.5  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < .01)  ตัวแปรลักษณะครอบครัว พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.3  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)  จากนั้นในขั้นต่อไปเลือกตัวพยากรณ์เข้าไป  คือ  สาเหตุการเป็นแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < .01)

          จากผลการวิจัยทำให้ได้ข้อสรุปว่าควรมีการส่งเสริมให้แม่เดี่ยวเลี้ยงลูกมีอาชีพที่มั่นคง หรือ มีการส่งเสริมให้แม่เดี่ยวเลี้ยงลูกมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวหลังการหย่าร้าง  อย่างไรก็ตามควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนโดยภาครัฐและเอกชนร่วมกันให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวมากขึ้น  และควรส่งเสริมให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว  โดยอาจจัดกิจกรรมเพื่อ รองรับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว  เช่น งานวันเด็ก วันแม่ วันพ่อ  โดยมีการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อต่างๆ รวมทั้งสถานที่ทำงานต่างๆ  ควรจัดกิจกรรมวันครอบครัว เพื่อให้คู่สมรสมีความเข้าใจกันมากขึ้น เพื่อป้องกันและลดจำนวนการมีแม่เดี่ยวเลี้ยงลูก

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2550). ยุทธศาสตร์ความมั่นคงในชีวิต. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.m-society.go.th/strategics.php (วันที่สืบค้น 15 พฤษภาคม 2552)

กระทรวงวัฒนธรรมและสถาบันรามจิตติ. (2548). ปัญหาและความคาดหวังในการดำเนินชีวิตของครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.m-culture.go.th/ (วันที่สืบค้น 18 พฤษภาคม 2552)

กุสุมา พลแก้ว. (2544). การปรับตัวทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิงในสังคมชนบทภายหลังการหย่าร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยาประยุกต์) สาขาสังคมวิทยาประยุกต์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). อย่าให้การแต่งงานเป็นการซื้อเสรีภาพของคนรัก.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.elib-online.com/doctors2/mental_married02.html (วันที่สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2552)

ขวัญชัย มะโนแก้ว. (2544). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความมั่นคงในชีวิตสมรสของข้าราชการชั้นประทวน ในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยาประยุกต์) สาขาสังคมวิทยาประยุกต์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฎฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ. (2550). การศึกษาปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยเสี่ยงของครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและเครือข่ายพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว.

ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต. (2546). จิตวิทยาพัฒนาการสำหรับพยาบาล. ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บรรพต เวียงนนท์. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสของข้าราชการตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ประเวศ วะสี. (2548). องค์ประกอบของครอบครัวเข้มแข็งและมีคุณภาพ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.m-society.go.th/maghss/firstpage/trend.html (วันที่สืบค้น 18 พฤษภาคม 2552)

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว. (2552). คู่มือ Single parent. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.thaisingleparent.com/?act=content&type=book&show=book&news_id(วันที่สืบค้น 18 พฤษภาคม 2552)

วัชรี บุญวิทยา (2551). กระบวนการตัดสินใจหย่าร้างและกระบวนการจัดการชีวิตภายหลังการหย่าร้างของผู้หญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (สังคมวิทยา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเกียรติ เบญจศาสตร์. (2541). สภาวะความไม่มั่นคงในชีวิตสมรสในจังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

โสภา (ชูพิกุลชัย) ชปีลมันน์. (2551). การศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับจริยธรรม ค่านิยม ประเพณีและวัฒนธรรมของครอบครัวไทย ที่มีผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตร : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2550). การสำรวจพ่อ/แม่ เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://thaihealth.or.th/node/8847(วันที่สืบค้น 20 พฤษภาคม 2552)

ยูไล วีระกังวานกุล. (2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความมั่นคงในชีวิตสมรสของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดสมุทรปราการ : กรณีศึกษา บริษัท สหยูเนี่ยน อุตสาหกรรมสิ่งทอ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาครอบครัวและสังคม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภาพร จารุกิตติพงศ์. (2549). การปรับตัวของสตรีในเมืองเชียงใหม่หลังการหย่าร้าง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัญมณี บูรณกานนท์. (2541). การศึกษารูปแบบบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมกับลูกกรรมกรก่อสร้าง. รายงานการวิจัย. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Alan Booth, David Johnson and John Edwards. (2003). Continuity and change in marital quality between 1980 and 2000. Journal of marriage and the family. 65: 1-22.

Arnon & Marianne, Bentovim. (2008). Children growing up in a climate of violence, Abuse and adversity. (Online) Available to : http://www.familynetwork.or.th/node/337 (18th May 2552)

Levinger, G. (1979). Divorce and separation: Context, causes and consequences. New York: Basic book.

Levinger, G. and Huston, T.L. (1990). The social psychology of marriage. The psychology of marriage. New York: Guilford.

Lewis and Spanier. (1997). Determinants of marital quality: A partial of Lewis and Spanier's model. Journal of family studies. 3,2: 226-251.

Lynn White and Alan Booth. (1991). Marital quality and marital stability-The controversy continues. Journal of family issue.14: 314-317

Ronald, M Sabatelli. (1984). Marital comparison level index (MCLI). Measures for clinical practice and research. 1:135-137

Thomas and Kleber. (1981). The marital happiness/Disruption relationship by level of marital alternatives. Journal of marriage and family.45,1: 221-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-12-31