เมื่อสื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นสื่อกระแสหลัก

ผู้แต่ง

  • วัฒณี ภูวทิศ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บทคัดย่อ

          ปัจจุบัน"สื่อสังคมออนไลน์" ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้สื่อข่าวหรือผู้คนในสังคมยุคดิจิทัล อีกต่อไปแล้ว เหตุเพราะสังคมอินเทอร์เน็ตหรือสังคมเว็บไซต์ในยุคเว็บ 3.0 ซึ่งเป็นสังคมเครือข่ายที่มีการติดต่อแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ข้อมูลและทำงานร่วมกันมากยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ทั้งผู้สื่อข่าวและประชาชนต่างใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการสื่อสารในปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้สื่อใหม่มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสื่อกระแสหลัก ในขณะที่สื่อมวลชนต่างหันมาใช้สื่อสังคมออนไลน์ในฐานะเครื่องมือเสริมของกระบวนการการทำข่าว ทั้งในด้านการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เป็นเบาะแส หรือใช้เพื่อสืบค้นและต่อยอดข่าวให้มีความหลากหลายและมั่งคั่งของข้อมูลเพิ่มยิ่งขึ้น

          ขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้รับสารเกือบจะทุกเพศทุกวัยนับวันจะหันมาบริโภคข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคข่าวสารจากรูปแบบเดิมมาสู่สังคมออนไลน์

          แม้ว่าจะมีเพียงองค์กรข่าวบางแห่งเท่านั้นที่นิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลายสำหรับการทำงานข่าวในกองบรรณาธิการก็ตาม แต่จะเห็นว่าจำนวนผู้คนในโลกของไซเบอร์ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ อย่างเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ นับวันจะทวีคูณขึ้นทุกขณะ ทั้งการใช้เป็นพื้นที่สำหรับรายงานข่าวสาร ตลอดจนใช้เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นสาธารณะที่ร้อนแรงในสังคมได้โดยอิสระและไร้ขีดจำกัดด้านเวลา สถานที่ และรูปแบบ นั่นเป็นเพราะสื่อสังคมออนไลน์มีลักษณะเด่นด้านความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร

          หากแต่สิ่งสำคัญที่ผู้ใช้ทั้งระดับองค์กรและระดับบุคคล ต้องระมัดระวังก็คือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน  เพราะอย่างไรก็ตามการสื่อสารที่จะมีประสิทธิภาพจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบและรอบด้าน ทั้งนี้เพราะความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล คือหัวใจสำคัญของการทำงานด้านข่าวสาร

References

กองบรรณาธิการ. (2553). "ทำข่าวบิดเบือน" โซเชียลมีเดีย...ถล่มซีเอ็นเอ็น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.komchaluek.net/detail/20100525/60370. (วันที่เข้าถึง 8 มกราคม 2554).

คณะทำงานสภาการหนังสือพิมพ์. (2553). สื่อใหม่ในมุมมองทางจริยธรรม. 13 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ 4 กรกฎาคม 2553. กรุงเทพมหานคร : บรรณฏา จำกัด.

จักรกฤษ เพิ่มพูล. (2553). สื่อหลักและสื่อสังคม ในสงครามสี. 13 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ 4 กรกฎาคม 2553. กรุงเทพมหานคร : บรรณฏา จำกัด.

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (2553). นักข่าวกับ Social media. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1683%3A-social-media-&cited=46%3Aacademic&Itemid=7. (วันที่เข้าถึง 15 มกราคม 2554).

วริศ พันธุ์โอสถ. (2010). โซเชียลมีเดีย กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20100705/341346.htm (วันที่เข้าถึง 1 กุมภาพันธ์ 2554).

สุดา มั่งมีดี. (2553). "วิกิลีกย์ จอมแฉยุคอินเทอร์เน็ตครองเมือง". เนชั่นสุดสัปดาห์. 962,19 (29 ตุลาคม 2553)

Christine Greenhow and Jeff Reifman, 2010. Engaging youth in social media : Is face book the new media frontier? Nieman report : 53-55.

Howard Owens. (2010). Twelve things journalist can do to save journalism. [Online] 19 November, 2010. Available http://www.howardowens.com/2007/twelve-things-journalists-can-do-to-save-journalism/. (Access 19 November 2010).

@ Mimee & tuirung. (2553). การตลาด 2.0. กรุงเทพมหานคร : บริษัทจูปิตัส จำกัด.

Vadim Lavrsik. (2010). 10 Way journalism school are teaching social media. [Online] 31 October, 2010. Available http://mashable.com/2009/06/19/teaching-social-media/. (Access 4 November 2010).

Wilma Stassen. (2010). Your new in 140 character : Exploring the role of social media in journalism. Global media journal. (4) : 1-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-12-31