การพัฒนารูปแบบการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์โดยวิธีการเดาความหมายจากบริบท ("รูปแบบการสอนแบบสายตาคำโมเดล")

ผู้แต่ง

  • เกียรติชัย สายตาคำ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการเดาความหมายจากบริบทและเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการเดาความหมายจากบริบทที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 85/85 (พรหมวงค์, 1978) และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยวิธีการเดาความหมายจากบริบทบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยวิธีเผชิญหน้ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองได้ เรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนโดยวิธีเผชิญหน้า หลังจากที่ทั้งสองกลุ่มได้ทำการทดสอบก่อนเรียน กลุ่มทดลองได้เรียนบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเว็ปไซต์ www.welmc.net และกลุ่มควบคุมได้เรียนโดยวิธีเผชิญหน้า จากนั้นนักศึกษาทั้งสองกลุ่มได้ทำแบบทดสอบหลังเรียน กลุ่มทดลองจะตอบแบบสอบถามและได้รับการสัมภาษณ์

                เกณฑ์มาตรฐาน 85/85 นำมาใช้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพของกระบวนการและค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) ในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANCOVA) เพื่อขจัดตัวแปรร่วมค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์โดยวิธีการเดาความหมายจากบริบทหรือ The Saitakham Model ที่พัฒนาขึ้น ได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการออกแบบระบบการสอนและการสอนภาษาอังกฤษว่าอยู่ในเกณฑ์ "เหมาะสมมาก" (x̄= 4.67) บทเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ โดยวิธีการเดาความหมายจากบริบทที่พัฒนาขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 83.50/84.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 85/85 ที่ตั้งไว้ และพบว่ากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Alexander, S. (1995). Teaching and learning on the World Wide Web. In Proceedings of web95 : The first Australian World Wide Web conference 1995. New South Wales, Australia: Southern Cross University.

Brahmawong, C. (1978). Instructional media system. Bangkok : Chulalongkorn University.

Bork, A. and Britton, D. R. (1998). The web is not yet suitable for learning. Computer. 31 (6) : 115-116.

Braxton, S. (2000). Empirical comparison of technical and non-technical distance education courses to derive a refined transactional distance theory as the framework for a utilization-focused evaluation tool. Ph.D. Dissertation, George Washington University, USA.

Chamot, A. C., and Kupper, L. (1989). Learning strategies in foreign language instruction. Foreign language annals. 22 : 13-24.

Coady, J. M. (1979). A psycholinguistic model of the ESL reader. In Mackay, R., Barkman, B., and Jordan R. R. (eds.). Reading in a second language. (pp. 5-12) Rowley, Massachusetts: Newbury House.

Grunet. J.(1997). The course syllabus : A learning-centered approach. Bolton : Anker Publishing Company.

Jonassen, D. (1994). Thinking technology. Educational technology. 34 (4) : 34-37.

Khan, B. H. (1997). Web-based instruction. New Jersey : Educational technology publication.

Klssen K., and Vogel J. D. (2003). New issues arising from E-education. In Aggrarwal A. (ed.). Web-based education : learning from experience. (pp. 36). London: IRM Press.

Krutkeo, K. (1980). The use of context clues to increase speed reading ability. M.Ed. Thesis, Srinakharinwirot University, Thailand.

Kessler, G., Rosenblad , K., and Shepard S. (1999). The web can be suitable for learning. Computer. 32 (2) : 114-115.

Liu, N. and Nation, I.S.P. (1985). Factors affecting guessing vocabulary in context. RELC Journal. 16(1) : 33-42.

Nunan, D. (1991). Language teaching methodology : A textbook for teachers. Hertfordshire, UK : Prentice Hall.

Sa-ard, K. (2002). The development of web-based instruction on relative clauses for for mattayom suksa V students at Kham Sakaeseng School, Nakhon Ratchima. Ph.D Thesis, Suranaree University of Technology, Thailand.

Saitakham, K. (2000). A study of english vocabulary learning strategies of the third-year english major students of the faculty of humanities and social sciences at Naresuan University. M.A. Thesis, Naresuan University, Thailand.

Srikalsin, T. ( 2001) .The development of an internet-based computer instruction on working principles and components of computer. M.A Thesis, King Mongkut's University of Technology Thonburi, Thailand.

Suppasetseree, S. (2005). The development of an internet-based instructional system for teaching remedial english to first-year university students. Ph.D Thesis, Suranaree University of Technology, Thailand.

Sookpredee, L. (2005). The development of multimedia computer instructionprogram on "Light and Color". Educational Journal. 17 (1) : 27-38.

Wen, Q. and Johnson, R.K. (1997). L2 learner variables and English achievement : A study of tertiary-level English majors in China. Applied Linguistics. 18: 27-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-04-30