ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปีการศึกษา 2549 - 2551

ผู้แต่ง

  • นงนุช พลบูรณ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยคริสเตียน  ปีการศึกษา 2549 - 2551 ในด้านข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติวิชาชีพกายภาพบำบัด คุณลักษณะส่วนบุคคลของบัณฑิต คุณลักษณะส่วนบุคคลของบัณฑิตที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการ และความต้องการนักกายภาพบำบัดเฉพาะทางของผู้ใช้บัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า

          1) ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักกายภาพบำบัด แพทย์ ฝ่ายบริหารบุคคล ฝ่ายวิชาการ และอื่นๆ ร้อยละ 53.85, 3.85, 3.85, 11.54 และ 26.92 ตามลำดับ  ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรในโรงพยาบาลรัฐ (ร้อยละ 34.15) และโรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ 24.39)

          2) ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยต่อการปฏิบัติวิชาชีพกายภาพบำบัดอยู่ในระดับมาก  (4.11 ± 0.77) โดยผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในลักษณะและเจตคติของนักกายภาพบำบัด(4.60 ± 0.25) และความรู้เกี่ยวกับกฎหมายวิชาชีพและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (4.70 ± 0.30)

          3) ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจคุณลักษณะส่วนบุคคลของบัณฑิตอยู่ในระดับมาก (4.13 ± 0.78)

          4) ผู้ใช้บัณฑิตต้องการบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น มีความขยันอดทน และมีความสามารถในการมองการณ์ไกล เป็นร้อยละ 13.33, 13.33, 12.67  ตามลำดับ

          5) ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการนักกายภาพบำบัดเฉพาะทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และกายภาพบำบัดชุมชน เป็นร้อยละ 32.18, 16.67 และ 15.91 ตามลำดับ

References

กานดา ชัยภิญโญ. (2553). “มุมมองและแนวทางการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดในประเทศไทย”. วารสารสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด. ปีที่ (2) 1/10-12.

กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการป้องกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 23 ก (ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2553).

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนพิเศษที่ 125. (ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2552).

ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สภากายภาพบำบัด. (2547). ความสามารถขั้นพื้นฐานของนักกายภาพบำบัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://ams.kku.ac.th/doc/compt.pdf (วันที่สืบค้นข้อมูล 18 เมษายน 2554).

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารธสุข. (2552) สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2552. [online]. เข้าถึงได้จาก https://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/illness/1.ต้นฉบับ2552.pdf.(วันที่สืบค้นข้อมูล 20 เมษายน 2554).

สุวิทย์ อริยชัยกุล, จีรวรรณ ดนัยตั้งตระกูล และกรรณิการ์ ธีรวุฒิวรเทย์ (2553) รายงานผลการศึกษาการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนทางกายภาพบำบัด 2552 - 2563. (เอกสารอัดสำเนา).

Trompenaars F. and Wodliams P. (2003). Business across alters. London: Capstone Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-04-30