ระบบช่วยสนทนาภาษาอังกฤษบนไมโครคอมพิวเตอร์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบช่วยสนทนาภาษาอังกฤษ ด้วยการสร้างสถาปัตยกรรมของระบบ เพื่อสนับสนุนการสนทนาทั่วไป ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิผลในการสนทนาภาษาอังกฤษ เพิ่มสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียน และเพิ่มประสิทธิผลในการเรียนสนทนาภาษาอังกฤษของบุคคลทั่วไป
วิธีการดำเนินการวิจัยและจัดทำระบบ ใช้หลักของวิศวกรรมซอฟท์แวร์ (Software Engineering) และใช้หลักการออกแบบ OOD(Object Oriented Design) รูปแบบของภาษา UML จะมี Notation ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นำไปใช้ใน Model ระบบช่วยสนทนาถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบของระบบวิเคราะห์ประโยค ระบบได้ใส่ทางเลือกขององค์ประกอบเหตุการณ์ของการสนทนา และโดยทางเลือกเหล่านี้ มีความหมายถึงการช่วยให้ผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้ในบทสนทนาและ ตอบโจทย์ความต้องการของระบบที่ช่วยสนทนาในสถานการณ์ทั่วไป ระบบจะรับเงื่อนไขการสนทนาและตอบสนอง แต่ถ้ามีบางเนื้อหาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่พูดคุยขณะนั้น ระบบจะยกตัวอย่างประโยคใกล้เคียงที่บุคคลสามารถใช้ในชนิดเหตุการณ์ต่างๆ
สิ่งประดิษฐ์คิดค้นนี้ สามารถช่วยให้บุคคลทั่วไป ให้สามารถเผยแพร่ความรู้และลดเวลาในการผลิตสารสนเทศที่จะเผยแพร่ในภาษาสากล เพื่อที่จะพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษ ในการรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
References
พิรพร หมุนสนิท. (2549). คัมภีร์ Visual Basic 2005 .กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แฮนด์ คอนซัลท์.
ศุภชัย สมพานิช. (2549). Database Programming ด้วย VB 2005 & VC#2005. นนทบุรี : โอดีซี อินโฟ.
สุโกศล วโนทยาพิทักษ์. (2547). การพัฒนาระบบลงทะเบียนด้วยตนเองของนักศึกษาผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต. [รายงานวิจัย]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2545). การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2548). การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
David Gustafson,Ph.D. (2002). Theory and Problem of Software Engineering : McGraw-Hill.
Elaine Kirn. (1988). English in Everyday Life : Random House,Inc.
Shirley Burridge. (1981). Oxford Basic English Dictionary. Oxford:Oxford University press.