ปัญหาอุปสรรคทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กรณีศึกษา ณ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้แต่ง

  • ประภาส ศรีบุญรอด มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการระบุบ่งชี้ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย รวมทั้งเสนอแนะข้อควรปรับปรุงในการสอนภาษาอังกฤษกับนักศึกษาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 200 คน และอาจารย์ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 10 คน โดยกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นทั้งแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามีด้วยกัน 6 ปัจจัยหลักคือ ความเขินอาย การออกเสียงภาษาอังกฤษ วิธีการสอน การอภิปรายหรือปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน การนำเสนองานรายบุคคล และการอ่านออกเสียง เนื่องด้วยงานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษากับกลุ่มตัวอย่างในมหาวิทยาลัยคริสเตียน ฉะนั้นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษจะอ้างอิงเฉพาะเพื่อสถาบันนี้เป็นหลักอันประกอบด้วย การนำสื่ออุปกรณ์การสอนที่ให้ความบันเทิงมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน ให้น้ำหนักต่อการสอนทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษให้มากขึ้นกว่าเดิม มุ่งเป้าหมายต่อกลุ่มนักศึกษาที่มีความสนใจอยากเรียนภาษาอังกฤษก่อน รวมทั้งการผนวกหลักไวยกรณ์และทักษะอื่นๆ เข้าไปในการสอนด้วย

References

Dobson, K. (2006). Christian University of Thailand: A bright future. CTU, Nakhon Pathom.

Govardhan, A., Nayar, B. & Sheorey, R. (1999). Do MATESOL programs prepare students to teach abroad. TESOL Quarterly 33, No. 1, pp. 114-125.

Hua, L. S. (2009). Asia's tough cultural barriers. The Straits Times, March 18.

Kirkpatrick, A. (2006). teaching english across cultures: What do english language teachers need to know to know how to teach english? 19th Annual EA Education Conference, 2006. Hong Kong Institute of Education.

Kumar, M. & Chakravathi, K. (2009). “Cross-cultural communication”. The 1cfai University Journal of Soft Skills, (III), 2, : 43-47.

Lewis, R. D. (2007). The Cultural Imperative: Global Trends in the 21st Century. Nicholas Brearley Publishing, London.

McCargar, D. F. (1993). “Teacher and Student Role Expectations: Cross Cultural Differences and Implications”. The Modern Language Journal, (77),192-207.

Monthienvichienchai, C. Bhibulbhanuwat, S. Kasemuk, C & Speece, M. (2002). “Cultural awareness, communication apprehension, and communication competence: a case study of Saint John's International School”. The International Journal of Educational Management, (June), 288-296.

Rose, C. (undated). Intercultural learning. British Council Teaching English, [online]. Avrilable www.teachingenglish.org.uk/think/methodology/intercultural1.shtml. (Access 20 November 2010).

Tang, R. (1999). The Place of Culture in the Foreign Language Classroom: A Reflection. The Internet TESL Journal.

Ur, P. (1996). A Course in Language Teaching : Practice and Theory. Cambridge University Press.

Verluyten, P. (2000). Intercultural Communication in Business and Organizations. Acco, Belgium.

Xu, Q. (2008). “Coping with Cultural Obstacles to Speaking English in the Chinese Context”. Asian Social Science Journal, (4), 12, December.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-04-30