ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่ ของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ สุจิตชวาลากุล มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในกลุ่มวัยรุ่นหญิงพบอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้วัยรุ่นหญิงมีความตั้งใจที่จะเป็น "นักสูบหน้าใหม่ " ผู้วิจัยจึงใช้ทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม (Theory of Planned Behavior: TPB) ของ เอจเซน (Ajzen, 2006) มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย

         การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของเจตคติต่อการสูบบุหรี่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม กับความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่ของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 263 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยใช้แบบสอบถาม 5 ส่วน ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน และตรวจสอบความเชื่อมั่นแบบวัดโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช  มีค่าระหว่าง .78 - 0.92 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อการสูบบุหรี่ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = .350, p < 0.01; r = .439, p < 0.01 ตามลำดับ) และเจตคติต่อการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการคล้อย ตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม โดยเจตคติต่อการสูบบุหรี่ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมสามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 26.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

          ผู้วิจัยเสนอแนะว่า สถาบันครอบครัว พยาบาลอนามัยโรงเรียน โรงเรียน ชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น  ควรมีส่วนร่วมป้องกันปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง  และประสานงานโดยมีนโยบายร่วมกันในการป้องกันและลดพฤติกรรมการเริ่มสูบบุหรี่ในวัยรุ่นหญิง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2549). เอกสารสถิติบุหรี่. กลุ่มควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำนักโรคไม่ติดต่อ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2545). สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนอาชีวศึกษาชายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิราพร สุวรรณธีรางกูร. (2542). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในสถานศึกษา จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์. (2553). ชี้กฎหมายควบคุมบุหรี่ไทยฉบับใหม่ล่าสุดจะมีผลบังคับใช้ 19 มิถุนายน 2553 ระบุธุรกิจบุหรี่กำลังพุ่งเป้าทำการตลาดกับวัยรุ่น โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงไทย มีสถิติสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 15,000 คนต่อปี . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.moph.go.th/pnews/showimgdetil.php?id=138 (วันที่สืบค้นข้อมูล 12 พฤษภาคม 2553).

บัญญัติ สุขศรีงาม. (2544). เยาวชนหญิงกับการสูบบุหรี่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.uniserv.buu.ac.th/ forum2/topic.asp?TOPIC_ID=566. (วันที่สืบค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2553).

ผกาวดี พรมหมนุช. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และศูนย์วิจัยเพื่อจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2552). วิกฤตบุหรี่และวัยรุ่นหญิงไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.healthcorners.com/new_read_article.php? category=womenround&id=2278. (วันที่สืบค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2553).

ยุวลักษณ์ ขันอาสา. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบและไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนหญิงในมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

รุจา ภู่ไพบูลย์ และคณะ. (2549). รายงานวิจัยการพัฒนาโปรแกรมการวางแผนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น ระยะที่ 1 : การพัฒนาเครื่องมือและสำรวจพฤติกรรม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2553). กลุ่มวัยรุ่นหญิงน่าห่วง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/15542. (วันที่สืบค้นข้อมูล 12 พฤษภาคม 2553).

Ajzen, I. (2006). The Theory of Planned Behavior. The handbook of attitudes, Lawrence Erlbaum Associates.

Lauren Steingold. (2009). Using the theory of the planned behavior to predict tobacco and alcohol use in South African students. Research in University of Cap Town :14-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-04-30