พัสตราภรณ์ : กรณีศึกษาคณะละครในจังหวัดนครปฐม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประดิษฐ์พัสตราภรณ์และการนำไปใช้ โดยศึกษากรรมวิธีการประดิษฐ์พัสตราภรณ์ ได้แก่ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ รูปแบบและลวดลาย เทคนิคการปักเย็บ งบประมาณ ช่างประดิษฐ์ และศึกษาความต้องการและการบริการให้เช่าพัสตราภรณ์สำหรับการแสดงนาฏยศิลป์ไทยในจังหวัดนครปฐม ผลการศึกษาพบว่า
1. กระบวนการประดิษฐ์พัสตราภรณ์และโอกาสที่นำไปใช้ของคณะละครในจังหวัดนครปฐมพบว่า กรรมวิธีการประดิษฐ์พัสตราภรณ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์2) รูปแบบและลวดลาย 3) เทคนิคการปักเย็บ 4) งบประมาณ 5) ช่างประดิษฐ์ ส่วนกรรมวิธีการประดิษฐ์พัสตราภรณ์ที่แตกต่างจากวิธีทั่วไปแยกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) รูปแบบการตัดเย็บ พบว่าชุดพัสตราภรณ์มีการตัดเย็บให้มีรูปทรงสำเร็จรูปสามารถสวมใส่ด้วยตนเอง 2) วัสดุ พบว่า การปักเย็บชุดพัสตราภรณ์นิยมใช้เลื่อมและลูกปัดแทนการใช้ดิ้น
2. ความต้องการใช้พัสตราภรณ์และการบริการให้เช่าพัสตราภรณ์สำหรับการแสดงนาฏยศิลป์ไทยของโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม พบว่า เป็นกระบวนการที่กำหนดจากกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนและประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาโดยแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมส่วนราคาชุดพัสตราภรณ์ผู้ให้เช่าบริการจะกำหนดเครื่องแต่งกายหลายราคาไว้ให้เลือกตามความต้องการของลูกค้า และประเภทชุดที่ผู้จัดการแสดงนิยมเลือกใช้มากที่สุด คือ ชุดไทยสมัยต่างๆ เนื่องจากสามารถที่จะนำมาประยุกต์กับการแสดงได้หลากหลายประเภท และรูปแบบชุดพัสตราภรณ์จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุกต์สมัยสามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการแสดงได้หลายประเภท สำหรับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเช่าชุดพัสตราภรณ์ลักษณะชุดจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีครบสมบูรณ์ ผู้ประกอบการต้องบริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ให้คำแนะนำที่ดีกับผู้ใช้บริการ
References
ชูศักดิ์ เจนประโคน. (2543). เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ. (2541). ลายศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด.
นิตยา จามรมาน. (2542). เอกสารประกอบการสอน การแต่งกายและการแต่งหน้า. เอกสารอัดสำเนา, วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร.
เนาวรัตร์ เทพศิริ. (2539). เครื่องแต่งตัวชุดพระและนางของละครรำ (พ.ศ.2325-2539). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญมา แฉ่งฉายา. (2545). ศิลปลายไทย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ปราณี สำราญวงศ์. (2543). สำรวจกรรมวิธีการประดิษฐ์และประดิษฐ์เครื่องแต่งกายโขนเพื่อใช้ในการแสดง.วิทยานิพนธ์, คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
ปัญญา ทรงเสรีย์ และคณะ. (2520). ศิลปวิจักษณ์. กรุงเทพมหานคร : ภิญโญการพิมพ์.
พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2546). แรงจูงใจกับการโฆษณา. กรุงเทพมมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรเทพ บุญจันทร์เพชร. (2540). ระบำโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
พวงผกา คุโรวาท. (2535). ประวัติเครื่องแต่งกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์.
มาลัย นิลพงษ์ และคณะ. (2546). วิวัฒนาการเครื่องแต่งกายละครไทย. บทความ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
รจนา สุนทรานนท์. (2544). การศึกษากรรมวิธีการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายโขนเพื่อใช้ในการแสดง. วิทยานิพนธ์, คณะนาฏศิลปะและดุริยางค์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
เรณู โกศินานนท์. (2545). นาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
ลัดดา พนัสนอก. (2542). สุนทรียะทางนาฏศิลป์ไทย. สกลนคร : สถาบันราชภัฏสกลนคร.
วารุณี สุวรรณานนท์. (2547). เครื่องแต่งกายประจำชาติไทย. บทความ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
วิจิตรา เขียนนอก และคณะ. (2543). หุ่นละครเล็ก : กรณีศึกษาการเชิด. ศิลปนิพนธ์คณะศิลปศึกษา,
สิทธิ์ประกอบ วินยางค์กูล. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุมลมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2543). การละครไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.
สุมิตร เทพวงษ์. (2541). นาฏศิลป์ไทย : นาฏศิลป์สำหรับครูประถมและมัธยม. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2538). นาฏศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี หวังในธรรม. (2532). การแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์.
อุรารมย์ จันทมาลา. (2552). การสร้างและพัฒนาเครือข่ายธุรกิจบริการด้านเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงในชุมชนอีสาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.