การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการบริหารของผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตำบล

ผู้แต่ง

  • ไพศาล จันทรรังษี มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนบุคคล, ความรับผิดชอบในการบริหาร, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำแนกปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่  กลุ่มอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสและเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 390 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบประเมินความรับผิดชอบในการบริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ t-test ANOVA และทดสอบรายคู่โดยใช้ Least Significant Difference (LSD) 

          ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้ความรับผิดชอบในการบริหารของ ผู้บริหาร อบต. อยู่ในระดับมาก เมื่อศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า ผู้บริหาร อบต. ที่มีกลุ่มอายุต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในการบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า กลุ่มผู้บริหารที่มีอายุมากกว่า 46 ปี มีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในการ  บริหาร สูงกว่า กลุ่มผู้บริหารที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี และกลุ่มผู้บริหารที่มีอายุ 31-45 ปี ผู้บริหาร อบต.ที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในการบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่ากลุ่มผู้บริหารที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในการบริหาร สูงกว่า กลุ่มผู้บริหารที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และกลุ่มผู้บริหารที่มีระดับการศึกษาปริญญาโท ผู้บริหาร อบต.ที่มีสถานภาพสมรสคู่มีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในการบริหารสูงกว่ากลุ่มผู้บริหารที่มีสถานภาพสมรสโสดหรือหย่า/แยกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผู้บริหาร อบต.เพศชายมีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในการบริหารสูงกว่าผู้บริหารเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2553). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์การจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2536). การบริหารงานพัฒนาชนบท การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารงาน พัฒนาสภาตำบล: สาเหตุและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

เลิศชัย คชสิทธิ์. (2551). ทักษะการบริหารและคุณลักษณะของผู้บริหารระดับกลาง กรณีศึกษาบริษัทผลิต คอมเพรสเซอร์ในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

สำนักงาน ก.พ. (2543, ธันวาคม). เอกสารรายงานผลการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง ความสำเร็จและบทเรียนในการสร้างธรรมาภิบาลในส่วนราชการ. ณ ห้องประชุมสุขุมนัย ประดิษฐ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน, นนทบุรี.

สุรพงษ์ มาลี. (2553). กระแสคน กระแสโลก. มติชนสุดสัปดาห์ 29 สิงหาคม - 4 กันยายน พ.ศ. 2551.

Sheahan, P. (2005). Generation Y. Prahran, Victoria : Hardie Grant Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-08-31