รังสี พลังงานจากนิวเคลียสที่ไม่เสถียร

ผู้แต่ง

  • ศุภศิษฏ์ อรุณรุ่งสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          รอบตัวเราทุกวันนี้แวดล้อมไปด้วยรังสีต่างๆ มากมายทั้งในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุ รังสีความร้อน แสงที่ตามองเห็น รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมา เป็นต้น หรือรังสีที่แผ่ออกมาในรูปกระแสอนุภาคที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เช่น รังสีแอลฟา และรังสีบีตา

          รังสีทั้ง 2 ประเภทนี้ (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออนุภาคที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง) เราได้รับอยู่แล้วจากธรรมชาติ จากอาหารที่บริโภค หรือจากเครื่องมือทางการแพทย์ แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องทำงานหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับรังสีเหล่านี้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ควรได้รับคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพหรือสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุการระเบิดของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ปนเปื้อนในน้ำประปาหรือในพืชผลทางการเกษตร เป็นต้น

References

ดิตถพงษ์ บุญอำพล. (2550). แกมมาไนฟ์นวัตกรรมรักษาโรคสมอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.stou.ac.th/study/sumrit/3-54/page1-3-54.html. (วันที่ค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2554).

นิวเคลียร์แห่งประเทศไทย, สมาคม. (ม.ป.ป.). ไอโอดีน-131 (Iodine-131). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nst.or.th/article/article54/article54-005.html. (วันที่ค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2554).

นิวเคลียร์แห่งประเทศไทย, สมาคม. (ม.ป.ป.). ซีเซียม-137 (Cesium-137). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nst.or.th/article/article54/article54-004.html. (วันที่ค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2554).

พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์, สำนักงาน กระทรวงพลังงาน. (2552). โคบอลต์-60. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nppdo.go.th/node/131. (วันที่ค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2554).

พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์, สำนักงาน กระทรวงพลังงาน. (2552). อันตรายจากรังสีและการป้องกัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nppdo.go.th/node/125. (วันที่ค้นข้อมูล 8 กรกฎาคม 2554).

เทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ, สถาบัน. (ม.ป.ป.). อาหารฉายรังสี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tint.or.th/tic/HOME.htm (วันที่ค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2554).

เทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ, สถาบัน. (ม.ป.ป.). เวชศาสตร์นิวเคลียร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www2.tint.or.thindex.php?option=com_content&view=article&id=530&Itemid=858&lang=th.(วันที่ค้นข้อมูล 22 กรกฎาคม 2554).

รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา, สาขาวิชา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). โคบอลต์ 60. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chulacancer.net/newpage/machines/cobalt-60.html. (วันที่ค้นข้อมูล 28 กรกฎาคม 2554).

วิเชียร รัตนธงชัย. (ม.ป.ป). ไอโซโทปเสถียรทางธรณีเคมี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tint.or.th/nkc/nkc51/nkc5101/nkc5101t.html.(วันที่ค้นข้อมูล 8 กรกฎาคม 2554.)

Google Crisis Response,A google.org project.(2011). Japan Earthquake 2011.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.google.com/crisisresponse/japanquake2011.html.(วันที่ค้นข้อมูล 8 กรกฎาคม 2554).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-08-31