การจัดการกับอาการของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • สมพันธ์ หิญชีระนันทน์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะแรกคือ อาการไอ โดยเริ่มแรกมักไอขณะเป็นหวัด อาการอื่นๆ ที่พบคือ อาการหายใจลำบากและหอบเหนื่อย ซึ่งความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจ็บป่วยจนถึงระยะสุดท้ายของโรค พยาบาลในฐานะผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจึงควรตระหนักถึงความสามารถในการเผชิญหรือจัดการกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยใช้การศึกษาประสบการณ์ชีวิตของบุคคลที่เรียกว่า ปรากฏการณ์วิทยา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในชีวิตเกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการเลือกแบบเจาะจง  ผลการวิจัยพบว่าการจัดการกับอาการของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มนี้ แบ่งเป็น 3 ประเด็นหลักคือ 1) ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการ  ประกอบด้วยลักษณะอาการที่พบและการประเมินอาการที่ปรากฏ ปัจจัยและสาเหตุของอาการ และการตอบสนองต่ออาการและเจตคติที่มีต่ออาการและการเจ็บป่วย 2) วิธีการจัดการกับอาการ ได้แก่วิธีการจัดการเมื่อมีอาการหอบ และการควบคุมโดยป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และ 3) ผลลัพธ์ของการจัดการกับอาการ ได้แก่ ผลลัพธ์เมื่อสามารถจัดการกับอาการได้คือรู้สึกสดชื่น สามารถช่วยทำงานบ้านได้และผลลัพธ์เมื่อไม่สามารถจัดการกับอาการได้คือรู้สึกเป็นภาระของครอบครัว การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยต้องการที่จะควบคุมอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นและหากไม่สามารถจัดการกับอาการได้จะกลายเป็นภาระของครอบครัว ดังนั้นพยาบาลจึงควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวร่วมกันในการเผชิญอาการที่เกิดขึ้นและส่งเสริมการควบคุมอาการให้ได้

References

นาฏอนงค์ สุวรรณจิตต์. (2537). ศึกษาผลของการเตรียมผู้ป่วยและครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นัยนา อินทรประสิทธิ์, ร้อยเอกหญิง. (2544). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิศิษฏ์ อุดมพาณิชย์. (2546). “โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง” ใน ตำราอายุรศาสตร์ เล่ม 4. โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์,กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชัย เจริญรัตนกุล, ศาสตราจารย์ นายแพทย์. (2552). วันรณรงค์โรคถุงลมโป่งพองโลก. กรุงเทพฯ : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2552 : 8.

อารี ม่วงไหมทอง. (2551). ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการหายใจลำบากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

Baker, C.F., and Scholz, J.A. (2002). Coping with symptoms of dyspnea in chronic obstructive pulmonary disease Rehabilitation Nursing, 27, 67-73.

Calvery, P.M.A., and Walker Paul. (2003). Chromic obstructive pulmonary disease. The Lancet, 27(362), 1053-1055.

Colaizzi, P. (1978). Psychological research as the phenominologist views it. In Valle, R. & King, M. (Eds). Existential-phenomenological alternatives for psychology. New York, Oxford University Press.

Coyle, N. (2004). “In their own words: seven advanced cancer patients describe their experience with pain and the use of opioid drugs”. Journal of Pain and Symptom Management. 27(4), April: 300-309.

DeVito, A.J. (1990). Dyspnea during hospitalizations for acute phase of illness as recalled by patients with chromic obstructive pulmonary disease. Heart & Lung, 19(2), 186-191.

Dodd, M., Jason,S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E.S., Humphreys, J. Lee, K., Miaskowski, C., Puntillo, K., Rankin, S., Taylor, D. (2001). Nursing theory and concept development or analysis advancing the science of symptom management. Journal of Advance Nursing. 33(5) : 668-676.

Donovan, K. A. et al., (2004). "Course of fatigue in women receiving chemotherapy and/or radiotherapy for early stage breast cancer. Journal of Pain and Symptom Management. 28(4), October: 373-380.

Duangpaeng, S., Eusawas, P., Laungamornlert, S., Gasemgitvatana, S., & Sritanyarat, W. (2002). Chronic dyspnea Self-management of Thai adults with COPD. Thai Journal of Nursing Research. 6(4) : 200-215.

Hockstra, J. et al. (2004). “The symptom monitor : A diary for monitoring physical symptoms for cancer patients in palliative care : feasibility, reliability and compliance”. Journal of Pain and Symptom Management. 27(1), January : 24-35.

Hu, W. Y. et al., (2004). “Morphine for dyspnea control in terminal cancer patients : is it appropriate in Taiwan”. Journal of Pain and Symptom Management. 28(4), October: 356-363.

Kinsman, R.A. , Yaroush, R.A., Fernandez , E., Dirks, J.F., Schocket, M., and Fukuhara. J. (1983). Symptoms and experiences in chronic bronchitis and emphysema. Chest, 5, 755 - 761.

Larson, P.J. (1994). “A model for symptom management.” IMAGE: Journal of Nursing Scholarship. 26(4), Winter : 272-276.

Lee and Carrieri, (2004). Research Center for Symptom Management. https://nurseweb.ucsf.edu/www/rcsm.htm. Retrieved on 3/12/04.

Morse,J.M. and Field,P.A. (1996). Nursing research : The application of qualitative approaches, Second edition, Chapman & Hall, London, 1996.

Munden, J., Goldberg, K. E., and McCleery, J. G. (2003). Elder care strategies : expert care plans for older adults. Philadelphia : Lippincott Williams and Wilkins.

Oh, E. G. (2004). “Symptom experience in Korean adults with lung cancer”. Journal of Pain and Symptom Management. 28(2), August : 133-139.

U.S. Environment Protection Agency. (2007). Air and radiation : Six common pollutants ; particulate matter, basic information August 31, 2007. www.lungusa.org. Accessed on September, 8, 2009.

Wiel, V.J. (1985). Dyspnea, in Harwitz, L.D., and Groves, B.M. London : J.B. Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-12-31