การใช้รูปแบบสมการโครงสร้างในพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วีรยา ภัทรอาชาชัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทคัดย่อ

          การเติบโตของอินเทอร์เน็ตในศตวรรษใหม่นี้เป็นการปฏิวัติปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากอินเทอร์เน็ตสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญและเป็นกลไกสำหรับการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญและเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารช่องทางใหม่สำหรับหลายๆธุรกิจ เช่น การซื้อขายสินค้าทางธุรกิจ และใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารต่างๆ ระหว่างกันการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบรูปแบบเชิงบูรณาการในการยอมรับการใช้อินเทอร์เน็ต โดยอิงกับทฤษฎีสำคัญ 2 ทฤษฎีคือ The Theory of Reasoned Action (TRA)  และ The Technology Acceptance Model (TAM) การวิจัยในครั้งนี้เพื่อนำเสนอโมเดลของการยอมรับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภายนอก ได้แก่ ความแตกต่างส่วนบุคคล ลักษณะงานที่สำคัญ (Task characteristic) การสนับสนุนขององค์กร  (Organizational support) และการยอมรับส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคคลที่ทำงานแล้ว  ซึ่งได้มีการส่งแบบสอบถามไปทั้งหมด 700 ชุด ได้รับการตอบกลับอย่างสมบูรณ์จำนวน 544 ชุดซึ่งได้เกินเงื่อนไขขั้นต่ำ 20% จากแบบสอบถามทั้งหมดที่ถูกส่งไป (Aaker, Kumar and Day, 2001)   และได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย A structural equation modeling : SEM ผลการวิเคราะห์พบว่า  โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ได้ค่า 2 = 1612.36, df = 499, P = 0.00000, RMSEA = 0.064, GFI = 0.85, AGFI = 0.82)  และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า H2 - H3 และ H5 ยอมรับเพียงบางส่วน  H1 , H4 , H6 - H7 และ H9 ถูกปฏิเสธ  และ H8 ได้รับการยอมรับ ข้อค้นพบนี้ทำให้สรุปได้ว่าการยอมรับการใช้อินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยภายใน คือ ลักษณะงานที่สำคัญ และการสนับสนุนขององค์กร

References

Aaker, D. A., V. Kumer and G. S. Day. (2001). Marketing research. New York : John Wiley and Sons.

Byung Gon Kim, et al. (2007). A structural equation modeling of the internet acceptance in Korea. Electronic Commerce Research and Applications. 6 (2006) : 425-432.

F. D. Davis. (1989). Perceived usefulness, perceived case of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly. 13(3) : 319-339.

I. Ajzen. The theory of plannced behavior, Organizational Behavior and Htman Decision Processes. 50(1991) : 179-211.

M. T. Dishaw, D. M. Strong. (1999). Extending the technology acceptance model with task-technology fit constructs, Information and Management. 36(1) : 9-21.

Nunnally, J. C. and I. H. Bernstein. (1994). Psychometric Theory. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-12-31